แจกันขนาดยักษ์ | Krater

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Krater
คราเตอร์หรือ κρατήρ เป็นคำจากภาษากรีกที่มีความหมายถึงการผสม ในที่นี้มีความหมายถึงภาชนะขนาดใหญ่รูปทรงเหมือนแจกันขนาดยักษ์ที่มีไว้ใช้ผสมไวน์กับน้ำในยุคสมัยของอารยธรรมกรีกโบราณ
บทบาทและความสำคัญของคราเตอร์
คราเตอร์จะถูกวางไว้ตรงจุดศูนย์กลางของซิมโพเซียม เนื่องจากขนาดใหญ่โตของมัน คราเตอร์จึงไม่สามารถถูกเคลื่อนย้ายได้เมื่อมันถูกเติมจนเต็ม เพราะฉะนั้นส่วนผสมของไวน์และน้ำเปล่าในคราเตอร์จึงต้องถูกตักออกไปด้วยภาชนะอันอื่น ในโอดิสซีที่ประพันธ์โดยมหากวีโฮเมอร์นั้นก็มีการบรรยายถึงคราเตอร์ว่าไม่ว่าจะในซิมโพเซียมหรือในการชุมนุมร่วมกันอื่นๆ นั้นจะมีบริกรเป็นผู้ตักรินไวน์จากตัวคราเตอร์จากนั้นจึงวิ่งนำไวน์ไปรินให้กับแขกที่มาเข้าร่วมพิธี โดยบริกรก็จะวิ่งไปวิ่งมาระหว่างคราเตอร์กับแขกผู้มีเกียรติตลอดทั้งงาน ในภาษากรีกปัจจุบัน คำว่า krasi ที่หมายถึงไวน์ผสมหรือเจือจางแล้วนั้นมีรากศัพท์มาจากคำว่า krasis ในภาษากรีกโบราณที่หมายถึงการผสมกันระหว่างน้ำและไวน์ในคราเตอร์นั่นเอง ภายในของคราเตอร์นั้นจะถูกขัดไว้จนขึ้นเงาเพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการเก็บของเหลวและชาวกรีกโบราณอาจจะทำเช่นนั้นเพื่อเหตุผลทางสุนทรียศาสตร์ด้วยก็เป็นได้ เนื่องจากภายในของคราเตอร์นั้นสามารถถูกมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ขั้นตอนและพิธีกรรม
ในตอนเริ่มต้นของซิมโพเซียมทุกครั้งจะต้องมีการเลือกตั้ง เจ้าแห่งเครื่องดื่มร่วมกัน ขึ้นมาจากผู้เข้าร่วมในพิธี ผู้ที่ถูกรับเลือกนั้นก็จะต้องมีหน้าที่ควบคุมทาสที่มีหน้าที่รินไวน์และมีหน้าที่ดูแลสัดส่วนของไวน์กับน้ำในคราเตอร์ รวมไปถึงวิธีการผสมและเจือจางและต้องดูแลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเครื่องดื่มนั้นตลอดตราบจนกว่างานเลี้ยงจะเลิกรา ไปจนถึงต้องควบคุมว่าจะให้บริกรรินไวน์ให้กับผู้ที่เข้ามาร่วมงานแต่ละคนเท่าใดอีกด้วย เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าการที่คราเตอร์จะเต็มหรือจะหมดนั้นเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับอำนาจของซิมโพซิอาร์คของงานนั้นๆ โดยตรง ซิมโพซิอาร์คที่มีความสามารหรือเจนประสบการณ์จะต้องสามารถคาดเดาหรือสามารถอ่านผู้เข้าร่วมออกได้ว่าผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีปริมาณในการดื่มที่เหมาะสมเท่าใด เพื่อที่จะสามารถทำให้ซิมโพเซียมดำเนินไปได้อย่างราบรื่นโดยไม่เกิดการเมามายที่มากเกินไปกว่าที่เหมาะควร
การผสมไวน์
ในยุคกรีกโบราณนั้น การดื่ม akratos หรือไวน์ที่ไม่ผสมหรือเจือจางนั้นถือเป็นการกระทำที่ไม่ควร ละมีผลที่จะทำให้ผู้อื่นสามารถมองนักดื่มคนนั้นว่าเป็นพวกมัวเมาไม่รู้เหนือใต้และยังเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติในการระงับยับยั้งชั่งใจตนเองและเป็นผู้ที่ขาดหลีกการขั้นพื้นฐาน ผู้เขียนในยุคโบราณได้กำหนดส่วนผสมระหว่างไวน์กับน้ำเปล่าไว้ในอัตราที่เหมาะสมคือหนึ่งต่อสาม (ไวน์ต่อน้ำเปล่า) นั้นเหมาะสมกับการพูดคุยกันอย่างออกรสยาวนาน ในขณะที่อัตราส่วนที่หนึ่งต่อสองนั้นใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการความสนุกสนานอย่างขาดมิได้ และอัตราส่วนหนึ่งต่อหนึ่งนั้นใช้เมื่อความสำราญรวมหมู่ขั้นสูงสุดเท่านั้นซึ่งไม่ใช่อัตราการผสมที่จะได้ใช้กันบ่อยครั้งนัก หากว่าไม่ได้ใช้ไปเลยโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อทบทวนอีกครั้งว่าการผสมกับน้ำนั้นไม่ว่าจะในอัตราส่วนเท่าใดก็ตามแต่แทบจะทำให้ไวน์ในยุคปัจจุบันสูญเสียรสชาติที่พึงมีไปหมดสิ้นแล้ว ทำให้เกิดการตั้งข้อสันนิษฐานว่าชาวกรีกโบราณหรือผู้คนในยุคโบราณนั้นอาจจะบ่มและผลิตไวน์ที่มีแอลกอฮอล์และดีกรีของน้ำตาลในระดับที่สูงมาก ซึ่งอาจจะใช้องุ่นที่ผ่านการดีไฮเดรตแล้วซึ่งสามารถผสมรวมหรือเจือจางกับน้ำได้ดีกว่า ไวน์ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นจะสามารถคงสภาพเมื่อเวลาผ่านไปและทนต่อเหตุที่คาดเดาไม่ได้ในขณะขนส่งได้มากกว่า แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีการค้นพบสูตรหมักบ่มหรือผลิตไวน์ที่ชาวกรีกโบราณได้ทิ้งไว้แต่อย่างใด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *