Category :ประติมากรรม

Posted in : ประติมากรรม on by : Webmaster Comments: 0

Trajan’s Column คอลัมน์ทราจันหรือ COLYMNA TRAINI ในภาษาลาตินนั้นคืออนุสาวรีย์ระลึกถึงชัยชนะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิทราจันแห่งอาณาจักรโรมันที่เป็นผู้ครอบครองชัยชนะในสงครามดาเชียน คาดเดากันว่าอนุสาวรีย์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นภายใต้การดูแลของสถาปนิกนามอพอลโลโดรัสแห่งดามาสคัสตามคำสั่งของวุฒิสภาโรมัน คอลัมน์ทราจันนี้ตั้งอยู่ในทราจันฟอรัมโดยสร้างขึ้นในตำแหน่งใกล้กันกับเนควิรินัล ทางเหนือของโรมันฟอรัม การก่อสร้างตัวของอนุสาวรีย์นั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปีคริสตศักราช 113 โดยคอลัมน์ทราจันนั้นมีชื่อเสียงโดดเด่นในเรื่องรูปแกะรอยนูนต่ำที่ขดเป็นเกลียว ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของมหาสงครามระหว่างกองทัพโรมันกับกองทัพดาเซียนในระหว่างปี 101-102 และปี 105-106 รูปลักษณ์และการออกแบบของคอลัมน์ทราจันนั้นกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการก่อสร้างคอลัมน์ระลึกถึงชัยชนะตามมาอีกหลายต่อหลายชิ้น ทั้งในยุคโบราณและยุคปัจจุบัน ลักษณะโดยทั่วไป ตัวคอลัมน์นั้นมีส่วนสูงประมาณสามสิบเมตรหรือเก้าสิบแปดฟุต หากนับรวมตัวฐานเข้าไปด้วยก็จะมีความสูงสนธิสามสิบห้าเมตรหรือหนึ่งร้อยยี่สิบห้าฟุต ส่วนโครงสร้างด้านบนนั้นสร้างขึ้นจากชุดหินอ่อนคาร์ราราที่แต่ละชิ้นหนักราวสามสิบสองตัน โดยตัวคอลัมน์นั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวหนึ่งร้อยเก้าสิบเมตรหรือหกร้อยยี่สิบห้าฟุต ในเหรียญตราโบราณมีการระบุไว้ว่าในเบื้องแรกมีการวางแผนว่าจะจัดวางรูปปั้นของนกหรือเหยี่ยวไว้ด้านบนคอลัมน์ แต่หลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้นรูปปั้นของทราจันก็ถูกนำมาวางไว้ในตำแหน่งที่เห็นในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งคอลัมน์ทราจันนั้นเคยหายสาบสูญไปในยุคกลาง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ปีคริสตศักราช 1587 พระสันตะปาปาซกส์ตุสที่ห้าก็ได้ประทานประดับให้กับยอดบนสุดของคอลัมน์ด้วยรูปหล่อสำริดของนักบุญเปโตรที่ยังคงอยู่มาจนปัจจุบัน เนื้อเรื่องที่บรรยายไว้บนภาพสลัก รอยสลักบนตัวคอลัมน์นั้นดำเนินวนเกลียวล้อมรอบตัวหอจากฐานไปจนถึงยอดสุด โดยแต่ละด้านของแผ่นบอกเล่าเรื่องราวนั้นมีขนาดกว้างประมาณหนึ่งเมตรตรงส่วนฐานและกว้างประมาณหนึ่งเมตรสองร้อยเซนติเมตรตรงส่วนยอด รอยสลักนูนต่ำนั้นแสดงถึงภาพชัยชนะทางการทหารสองครั้งที่จักรพรรดิทราจันมีต่อกองทัพดาเซียน โดยส่วนครึ่งล่างนั้นแสดงภาพการประชันเชิงยุทธ์ครั้งแรก และส่วนครึ่งบนนั้นประชันเชิงยุทธ์ครั้งที่สอง ทั้งสองส่วนถูกแบ่งออกจากกันด้วยภาพบุคลาธิษฐานของชัยชนะที่จารึกลงบนโล่ที่ประดับสองข้างด้วยถ้วยรางวัล อย่างไรก็ดี เรื่องราวที่ดำเนินไปบนรอยสลักนั้นก็ดำเนินอย่างต่อเนื่อง ภาพที่ปรากฏนั้นไม่ได้มีความสมจริงในแง่ที่หมายความถึงลักษณะต้องตรงกับความเป็นจริงเนื่องจากการที่ประติมากรนั้นไม่ได้ใส่ใจเรื่องของภูมิทัศน์มากมายนัก โดยทั่วไปแล้วการนำเสนอภาพจากหลายมุมมองและจากหลากหลายภูมิทัศน์ไว้ในฉากเดียวกันนั้นทำไปเพื่อเผยให้เห็นรายละเอียดที่มากกว่า อย่างเช่นการเปลี่ยนมุมมองเพื่อแสดงภาพของชายที่แอบซุ่มอยู่หลังกำแพง ฉากที่ถูกสลักไว้นั้นเป็นฉากของกองทัพโรมันเป็นส่วนใหญ่ที่กำลังกระทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทหารและการรบรา อย่างเช่นภาพในขณะที่กำลังเตรียมตัวประจัญบานกับกองทัพดาเซียน หรือในขณะที่กำลังก่อสร้างกำแพงหรือป้อมปราการเพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้าม หรือในขณะที่พลทหารกำลังรอฟังคำกล่าวของจักรพรรดิที่เล่าเรื่องชัยชนะและประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเอง ภาพสลักนั้นเต็มไปด้วยนาวิกโยธิน ทหาร รัฐบุรุษ และบาทหลวง รวมภาพผู้คนทั้งหมดได้ประมาณสองพันห้าร้อยร่าง จึงถือเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับนักประวัติศาสตร์ในยุคสมัยใหม่ที่สนใจทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของการรบและอาวุธยุทโธปกรณ์รวมไปถึงยุทธวิธีกลศึกของจักรวรรดิโรมันและพวกอนารชนคนเถื่อน

Posted in : ประติมากรรม on by : Webmaster Comments: 0

Roman Sculpture การศึกษาเรื่องราวของประติมากรรมโรมันนั้นมีความซับซ้อนเนื่องมาจากความสัมพันธ์ที่ประติมากรรมสกุลนี้มีต่อสกุลประติมากรรมกรีกโบราณ ตัวอย่างของประติมากรรมหลายต่อหลายชิ้นของประติมากรรมกรีกโบราณที่โด่งดัง อย่างเช่น อพลอลโล แห่งเบลเวเดเรและนั้นฟอนแห่งบาร์เบรินีนั้นเป็นที่รู้จักกันได้ผ่านตัวลอกเลียนโดยช่างในจักรวรรดิโรมันหรือเรียกกันว่าเป็นตัวเลียนแบบเฮเลนิสติค จนครั้งหนึ่ง บรรดานักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักวิจารณ์ได้ถือกันว่าการสร้างงานด้วยการลอกเลียนแบบของช่างโรมันนี้แสดงให้เห็นความคับแคบทางจินตนาการในเชิงศิลปะ แต่ในปลายศตวรรษที่นี่สิบนั้น ศิลปะโรมันก็ได้เริ่มถูกค้นพบในฐานะที่เป็นผลงานของโรมันเอง จนนำไปสู่ข้อเสนอประการหนึ่งที่ว่าประติมากรรมกรีกโบราณนั้นโดยแท้จริงแล้วอาจได้รับอิทธิพลมาจากงานช่างศิลป์โรมัน ความโดดเด่นของศิลปะโรมัน จุดแข็งที่เป็นข้อโดดเด่นของประติมากรรมโรมันอยู่ที่การสร้างงานเสมือนตัวจริง เนื่องจากช่างปั้นชาวโรมันนั้นไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องของอุดมคติอันสมบูรณ์แบบแบบที่ช่างชาวกรีกหรือช่างชาวอียิปต์เน้น ผลประติมากรรมที่ได้จึงแสดงออกถึงบุคลิกลักษณะต้นแบบของงานชิ้นนั้นๆ รวมไปถึงเรื่องราวที่เล่าผ่านฉากแกะนูนต่ำด้วย ตัวอย่างผลงานประติมากรรมโรมันนั้นถูกเก็บรักษาไว้เป็นจำนวนมากตรงกันข้ามเป็นอย่างยิ่งกับภาพเขียนสมัยโรมันที่แม้จะมีการเขียนไว้จำนวนมากแต่ก็สูญหายไปจนเกือบหมด ผู้ประพันธ์ในภาษาโรมันหรือภาษากรีกนั้นต่างได้บรรยายถึงรูปปั้นจนสามารถนำบทบรรยายบางชิ้นในผลงานเหล่านั้นมาเทียบเคียงกับประติมากรรมโรมันที่ถูกกล่าวถึงได้ ผู้ประพันธ์คนสำคัญที่มีงานในลักษณะดังกล่าวนั้นคือพลินี เดอะ เอลเดอร์ที่เขียนบทพรรณนาไว้ในเล่มที่สามสิบสี่ของหนังสือชื่อ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ของเขา แต่ถึงผลงานประติมากรรมโรมันจะยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนมาก แต่ผลงานประติมากรรมเหล่านั้นก็มักจะชำรุดเสียหายหรือเป็นเพียงชิ้นส่วนไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ความเป็นมาและแนวคิด ในช่วงแรกเริ่มนั้น ประติมากรรมโรมันได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกรีกและอีทรัสกันที่ในกรณีของตนเองนั้นก็ได้รับอิทธิพลจากกรีกผ่านทางพ่อค้าที่เดินทางไปมา และเมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถยึดครองดินแดนของกรีกโบราณได้มากขึ้นเรื่อย ตัวประติมากรรมโรมันก็ยิ่งมีความเป็นเฮเลนนิสติกมากขึ้นเช่นกัน จนทำให้งานประติมากรรมในสไตล์กรีกยุ่งเจริญรุ่งเรืองที่สุดนั้นหลงเหลือมายังยุคปัจจุบันได้เพราะตัวผลงานลอกเลียนในประติมากรรมโรมันนั่นเอง ในช่วงศตวรรษที่สองก่อนคริสตกาลนั้น เหล่าประติมากรที่ทำงานอยู่ในโรมันโดยส่วนใหญ่เป็นชาวกรีกและผลงานประติมากรรมกรีกโบราณก็ถูกขนย้ายเข้ามาที่จักรวรรดิไม่ว่าจะผ่านทางการค้าขายหรือเป็นค่าปฏิกรรมสงคราม โดยงานประติมากรรมโรมันนั้นมีข้อแตกต่างจากผลงานของพวกกรีกตรงที่จะไม่ได้เป็นผลงานที่ทำขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของปวงเทพต่างๆ ในเทพปกรณัมเพื่อเคารพบูชาแบบของกรีก แต่จะเน้นการปั้นรูปหล่อและการแกะสลักรอยนูนบอกเล่าเรื่องราวของกษัตริย์หรือวีรชนและตำนานทางประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิมากกว่า งานปั้นโรมันที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก (หรือที่เรียกกันว่าสไคล์เกรโก-โรมัน) นั้นจะมีความแข็งแรงและอ่อนช้อยเคลื่อนไหวในเวลาเดียวกัน แต่เมื่อมาถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่สาม ผลงานประติมากรรมโรมันก็เปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยที่นักประวัติศาสตร์ศิลปะในปัจจุบันยังไม่สามารถให้คำอธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ประติมากรรมโรมันเปลี่ยนเป็นงานที่เน้นหนักไปที่ความแข็ง, ความหนักแน่น และอาการขมวดเกร็ง กล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการปฏิเสธธรรมเนียมประติมากรรมโรมันคลาสสิคโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้มีเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจคือ ความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในธรรมเนียมผลงานประติมากรรมโรมันนั้นเกิดขึ้นก่อนที่จักรวรรดิโรมันและชาวโรมันโดยส่วนใหญ่จะรับศาสนาคริสต์เป็นศาสนาหลักไม่นาน และเหตุการณ์สำคัญนี้ก็นำไปสู่การละทิ้งการสร้างสรรค์ประติมากรรมทางศาสนาของลัทธิความเชื่ออื่นๆ ที่เคยทำกันมาโดยทั่วไป เหลือเพียงการสร้างประติมากรรมของวีรบุรุษหรือจักรพรรดิโรมันเท่านั้น