Category :ทั่วไป

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Physiognomy ฟิสิโอโนมีนั้นเป็นการเสนอว่าลักษณะหรือบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลนั้นสามารถอ่านได้จากภาพลักษณ์ภายนอกของบุคคลนั้นๆ โดยเฉพาะใบหน้า คำๆ นี้เป็นการผสมคำจากภาษากรีกโบราณสองคำคือ physis ที่หมายความว่าธรรมชาติ กับ gnomon ที่หมายถึงการตีความหรือการตัดสิน นอกจากนั้นแล้ว คำว่า Physiognomy นั้นยังสามารถใช้ในความหมายถึงลักษณะภายนอกโดยรวมทั้งหมดของบุคคล ของวัตถุ ของอาณาเขต โดยที่ไม่ต้องมีนัยความหมายถึงเรื่องลักบุคลิกภาพหรือลักษณะของสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นแต่อย่างด อย่างเช่นการกล่าวถึงฟิสิโอโนมีของกลุ่มพืชพันธุ์ ประวัติความเป็นมา ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษาฟิสิโอโนมีนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคแต่ละสมัย ในยุคกรีกโบราณนั้น ฟิสิโอโนมีได้รับการยอมรับและได้รับการนำไปประยุกต์ใช้โดยพวกนักปรัชญากรีกโบราณทั้งหลาย แต่ฟิสิโอโนมีนั้นกลับไม่ได้รีบความเชื่อถืออย่างสิ้นเชิงในยุคกลางเนื่องจากผู้ทีใช้องค์ความรู้นี้นั้นเป็นพวกคนพเนจรและพวกนักต้มตุ๋น ต่อมา Physiognomy ก็ถูกฟื้นฟูกลับมาใช้โดกวีชาวสวิสที่ชื่อโยฮันน์ กัสปาร์ ลาวาเตร์ในศตวรรษที่สิบแปดจนได้รับความนิยมกันโดยทั่วไปก่อนที่จะเสื่อมความน่าเชื่อถือไปอีกครั้งตอนปลายศตวรรษที่สิบเก้า ฟิสิโอโนมีในความหมายที่เข้าใจกันในอดีตนั้นมีคุณสมบัติต้องตรงกันกับนิยามของศาสตร์ปลอมหรือ pseudoscience นั่นเอง ไม่มีหลักฐานที่สามารถระบุยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่าฟิสิโอโนมีนั้นทำงานอย่างไร แม้ว่าจะมีการศึกษาในยุคปัจจุบันไม่นานมานี้ได้สร้างข้อเสนอว่าในการแสดงออกทางสีหน้านั้นมีบางแง่มุมของความจริงเกี่ยวกับบุคลิกภาพทั้งหมดของบุคคลอยู่ นอกจากนี้ ฟิสิโอโนมียังสามารถถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่าแอนโทรสโคปีในบางครั้ง แม้ว่าคำหลังนั้นจะใช้กันมากกว่าในศตวรรษที่สิบเก้าซึ่งเป็นยุคสมัยที่คำๆ นี้กำเนิดขึ้นก็ตาม ข้อวิจารณ์และกระแสตอบรับ แม้ลาวาเตร์จะเป็นผู้ที่นำ Physiognomy กลับมาสู่การรับรู้ของสาธารณะในศตวรรษที่สิบแปดอีกครั้ง แต่เขาก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อยไปกว่ากันจากบรรดานักวิทยาศาสตร์, นักเขียนและผู้ทำงานทางด้านความคิดทั้งหลายในยุคนั้น ผู้ที่ออกมาวิจารณ์ลาวาเตร์และฟิสิโอโนมีอย่างรุนแรงคนหนึ่งคือนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันที่ชื่อ เกออร์ก คริสตอฟ ลิกห์เตนเบิร์ก ที่ได้กล่าวไว้ว่าหากเทียบเคียงกันแล้ว พาโธโนมี (pathognomy) หรือการค้นพบบุคลิกลักษะผ่านทางการสังเกตพฤติกรรมนั้นมีความน่าเชื่อถือมากกว่าฟิสิโอโนมีและยังให้ผลที่จับต้องได้มากกว่าด้วย แต่ทั้งนี้ในศตวรรษที่สิบเก้าเอง ฟิสิโอโนมีก็ยังคงถูกนำกลับมาใช้ในทางวรรณคดีงานเขียนผ่านการสร้างหรือบรรยายตัวละคร โดยพวกนักเขียนนวนิยายในยุคนั้นต่างก็เน้นเรื่องความสมจริงด้วยการบรรยายทุกสิ่งที่มีบทบาทในเรื่องราวอย่างละเอียดยิบย่อย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งในการกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งของฟิสิโอโนมี..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Persian Gardens ธรรมเนียมและสไตล์ในการตกแต่งและออกแบบสวนเปอร์เซียหรือที่เรียกกันอีกอย่างว่าสวนอิหร่านในประเทศอิหร่านนั้นส่งอิทธิพลต่อวิธีและแนวทางในการออกแบบตกแต่งสวนจากตั้งแต่อันดาลูเซียมาจนถึงอินเดียและประเทศอื่นๆ ใกล้เคียง ในสวนแต่งหลายแห่งที่ตั้งอยู่ที่อัลฮามบราก็ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของปรัชญาและแนวคิดรวมไปถึงสไตล์ในธรรมเนียมการสร้างสวนเปอร์เซีย โดยการตีความที่ว่านี้ปรากฏออกมาในขนาดของพระราชวังแบบแขกมัวร์ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยของอัล-อันดาลัสในสเปน ส่วนสุสานของฮูมายันและทัชมาฮาลนั้นก็ถือว่าเป็นการตีความแนวคิดและธรรมเนียมในการสร้างสวนเปอร์เซียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอันหนึ่งของโลก ซึ่งต่างก็ถูกสร้างไว้ตั้งแต่ยุคสมัยของอาณาจักรโมกุลในอินเดียจวบจนปัจจุบัน ต้นกำเนิดและแนวคิดของการจัดสวนสไตล์เปอร์เซีย นับตั้งแต่ยุคสมัยของราชวงศ์อคาเอเมนิด แนวคิดเรื่องสรวงสวรรค์บนโลกนั้นได้แพร่กระจายไปหลายดินแดนและปรากฏผ่านออกมาในงานวรรณคดีของเปอร์เซีย และยังรวมไปถึงตัวอย่างอื่นๆ ที่มีที่มาจากวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วย ตัวอย่างในแบบหลังนั้นคือสวนแบบเฮเลนนิสติกที่เซลิวคิดส์และปโตเลมีส์ในอเล็กซานเดรีย คำว่า pairidaēza ในภาษาอเวสตะนั้นเป็นคำยืมมาจากภาษากรีกโบราณ παράδεισος (พาราเดซอส) ที่ได้กลายมาเป็นคำว่า paradisus ในภาษาลาตินและกลายเป็นคำหนึ่งในภาษาภาคพื้นทวีปยุโรปอย่างเช่น paradis ในภาษาฝรั่งเศส paradies ในภาษาเยอรมัน และ paradise ในภาษาอังกฤษ คำดังกล่าวนี้ได้เข้าไปอยู่ในตระกูลภาษาเซมิติกด้วยเช่นกัน นั่นคือคำว่า pardesu ในภาษาอัคคาเดียน คำว่า pardes ในภาษาฮีบรู และคำว่า firdaws ในภาษาอาหรับ ดังความหมายที่คำๆ นี้สื่อถึง สวนที่ถูกสร้างขึ้นจึงมีลักษณะปิดล้อม โดยเป้าหมายของสวนนั้นคือการสร้างสถานที่ที่อำนวยและเอื้อให้ผู้คนสามารถพักผ่อนคลายได้อย่างวางใจในความปลอดภัยในอิริยาบถที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทั้งในทางจิตวิญญาณหรือการใช้เวลาว่าง กล่าวได้ว่าเป็นสรวงสวรรค์บนดินนั่นเอง คำที่หมายถึงสถานที่ที่ล้อมกั้นไว้ในภาษาอิหร่านทั่วไปนั้นคือคำว่า pari-daiza- ซึ่งถูกหยิบยืมไปโดยคริสตศาสนจักรเพื่อนำไปใช้อธิบายลักษณะของสวนแห่งอีเดนหรือสรวงสวรรค์บนโลกมนุษย์ การก่อสร้างสวนนั้นอาจเน้นไปที่รูปแบบทางการที่ให้ความสำคัญกับโครงสร้าง หรือเน้นไปที่ความหย่อนใจโดยให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมชาติ โดยสร้างขึ้นตามกฎการออกแบบพื้นฐานหลากหลายประการ สวนเปอร์เซียนั้นอาจเกิดขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ 4000 ปีก่อนคริสตกาล..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Oikos Oikos หรือ οἶκος เป็นภาษากรีกโบราณที่มีความหมายเท่ากับบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย หรือครอบครัว โดย oikos นั้นเป็นหน่วยย่อยที่สุดของสังคมในนครรัฐในยุคกรีกโบราณโดยทั่วไป ที่นับรวมไปถึงหัวหน้าของมัน (ที่มักจะเป็นผู้ชายสูงวัย) ครอบครัวใกล้ชิดของเขา (ภรรยาและบุตร) และข้าทาสบริวารที่อาศัยอยู่ด้วยกันในสถานที่หนึ่ง Oikos ขนาดใหญ่จะมีไร่สวนที่ดูแลรักษาโดยแรงงานทาสที่ก็ถือว่าเป็นหน่วยย่อยทางเกษตรกรรมขนาดเล็กที่สุดของอารยธรรมโบราณ Oikos ในอารยธรรมกรีกโบราณ Oikos ในอารยธรรมกรีกโบราณนั้นมีความหมายแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับ domus ของอาณาจักรโรมันตรงที่การวางแปลนทางสถาปัตยกรรม ถึงแม้กรีกจะเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันมาเป็นเวลายาวนานแล้วก็ตาม โดยเรือนแบบของกรีกนั้นจะถูกสร้างรอบๆ ระเบียงคดที่ราดปูเรียบและมีพื้นที่ที่แบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างของผู้หญิงและของผู้ชาย ส่วนแรกสุดของเรือนพักจะประกอบด้วย gynaikonitis (หมายถึงเฉลียงของสตรี) หรือระเบียงคด, ตัวเรือน oikos เอง, ส่วนกลางที่ใช้ทำกิจกรรมภายในครัว และส่วนบนของเรือน โดยในส่วนหลังสุดนี้จะเป็นพื้นที่ของห้องนอนต่างๆ และห้องรับประทานอาหาร ในส่วนที่สองของเรือนหรือที่เรียกว่า andronitis นั้นจะเป็นที่ที่ผู้ชายภายในบ้านใช้ทำกิจกรรมต่างๆ นอกจากนั้นก็ยังมีห้องรับประทานอาหาร, ห้องรับแขก และห้องสมุดอีกด้วย ลักษณะครอบครัวของชาวกรีกโบราณ ส่วนครอบครัวที่อาศัยอยู่ใน Oikos นั้นจะประกอบไปด้วยผู้ชายที่คนหนึ่งจะมีบทบาทเป็น kyrios หรือนายใหญ่ของบ้าน โดยเขาจะมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับและเป็นตัวแทนประโยชน์ของ Oikos ของตนเองต่อหน้าสาธารณชนในวงกว้างหรือ polis และยังมีหน้าที่ให้การปกป้องคุ้มครองด้านกฎหมายแก่เหล่าสตรีและเด็กที่อยู่รวมเรือนหรือใน Oikos..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

ในเทพปกรณัมกรีกโบราณ เหล่านิโอบิดส์คือบุตรและบุครธิดาของแอมฟิออนแห่งเมืองธีบส์กับนิโอบี นิโอบิดส์ทั้งหมดถูกสังหารล้างบางโดยอพอลโลและอาร์เทมีสเนื่องจากนิโอบีที่มีฐานะเป็นบุตรธิดาของราชสกุลแห่งฟรีเจียได้เคยอวดอุตริเปรียบเทียบจำนวนของบุตรและบุตรธิดาที่มีอยู่มากของตนเองกับจำนวนทายาทของเลโต ผู้เป็นมารดาของอพอลโลและอาร์เทมิส เหตุการณ์ของนิโอบีและนิโอบิดส์นี้ได้กลายเป็นตัวอย่างที่มักถูกยกมาอ้างอิงบ่อยครั้งเมื่อพูดถึงความผยองจองหอง (hubris) งานเขียนเกี่ยวกับนิโอบิดส์ จำนวนของนิโอบิดส์ทั้งหมดมักถูกกล่าวบรรยายไว้ว่ามีสิบสอง (โฮเมอร์) ถึงสิบสี่คนคน (ยูริพีดีสและอพอลโลโดรัสกำมะลอ) แต่ในบางแหล่งก็กล่าวว่ามีถึงยี่สิบคน, สี่คน (เฮโรโดตุส) หรือสิบแปดคน (แซฟโฟ) โดยทั่วไปแล้ว เด็กเหล่านี้ครึ่งหนึ่งมีเพศเป็นชายอีกครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง ชื่อของบางคนถูกกล่าวถึงไว้ดังนี้แบ่งตามผู้เขียนแต่ละคร -บิบลิโอเธกา: อเกนอร์, แอสติเครเทีย, แอสติโอเค, เครโอดอกซา, ดามาซิคธอน, ยูพินีตัส, อิสเมนุส, เนอาเอรา, โอกีเจีย, เพโลเปีย, แฟดิมุส, ฟิเธีย, ฟิโลมาเค, ซิพีลุส, แทนทาลัส -ไฮจีนุส: อาร์เคนอร์, แอสติเครเทีย, แอสติโนเม, คิอาส, คลอริส, เครโอดอกซา, ดามาซิคธอน, ยูดอกซา, ยูพินีตัส, อิสเมนุส, เนอาเอรา, โอกีเจีย, แฟดิมัส, ฟิเธีย, ซิพีลุส, แทนทาลัส, เธรา -โอวิด: อัลเฟนอร์,..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Landscape Ecology: นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ นิเวศวิทยาภูมิทัศน์เป็นศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางนิเวศวิทยาในสิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ ศาสตร์สาขานี้ศึกษาตั้งแต่ภูมิทัศน์ในขนาดหลากหลาย รวมทั้งรูปแบบการพัฒนาในด้านพื้นที่ ไปจนถึงการศึกษาในระดับการจัดการองค์กรของทั้งการวิจัยและนโยบาย ด้วยความที่เป็นการศึกษาที่มีความเป็นสาขาวิชาซึ่งจัดอยู่ใน systems science นิเวศวิทยาภูมิทัศน์นั้นได้ผนวกรวมเอาทั้งแนวทางการศึกษาเชิงชีวะกายภาพและเชิงวิเคราะห์เข้ากับแนวทางการมองแบบมนุษย์นิยมและองค์รวมที่ข้ามไปยังพื้นที่ของทั้งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมศาสตร์ ภูมิทัศน์นั้นเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายในทางภูมิศาสตร์ ซึ่งประกอบขึ้นด้วยแผ่นเปลือกโลกหรือระบบนิเวศที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในหลากรูปแบบ โดยต่างมีทั้งอาณาเขตที่คงความเป็นธรรมชาติและระบบน้ำไว้เช่นป่า, ทุ่งหญ้า และทะเลสาบไปจนถึงสภาพแวดล้อมที่มีมนุษย์อยู่อาศัยอย่างพื้นที่ทางการเกษตรหรือเมือง ลักษณะสำคัญของนิเวศวิทยาภูมิทัศน์คือเป็นการศึกษาที่เน้นไปยังความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผน, กระบวนการ, และขนาดหรืออัตราส่วน รวมไปถึงการเน้นไปยังประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง การเน้นประเด็นเหล่านี้ทำให้การผนวกรวมชีวะกายภาพกับเศรษฐศาสตร์สังคมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ประเด็นวิจัยสำคัญในนิเวศภูมิทัศน์นั้นได้แก่การเคลื่อนในทางนิเวศวิทยาในลวดลายทางภูมิทัศน์, การใช้แผ่นดินและความเปลี่ยนแปลงในการถมของแผ่นดิน, การวัดอัตราส่วน, การวิเคราะห์แบบแผนทางภูมิทัศน์ด้วยกระบวนการทางนิเวศวิทยา และการอนุรักษ์ภูมิทัศน์และการรักษาให้ยั่งยืน ความเป็นมา ในภาษาเยอรมัน Landschaftsökologie ที่หมายถึงนิเวศวิทยาภูมิทัศน์นั้นถูกเสนอไว้โดยคาร์ล ทรอลล์ นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมนีในปี 1939 ทรอลล์นั้นยังเป็นผู้ที่ได้ริเริ่มและพัฒนามโนทัศน์และเทอมคำเรียกต่างๆ ในนิเวศวิทยาภูมิทัศน์ไว้ในผลงานชิ้นแรกๆ ของเขาที่มีการนำการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศมาประยุกต์เข้ากับการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและการขยายพันธุ์พืช ประวัติความเป็นมาของนิเวศภูมิทัศน์นั้นเริ่มต้นจากผลงานชื่อ ทฤษฏีว่าด้วยชีวภูมิศาสต์ของเกาะ ซึ่งเขียนโดยแมคอาเธอร์และวิลสัน ผลงานชิ้นนี้เสนอว่าความหลากหลายทางชีวภาพของเกาะต่างๆ นั้นเป็นผลมาจากพลังที่เบียดขับกันระหว่างการขยายตัวของสิ่งมีชีวิตจากแผ่นดินใหญ่กับการสูญพันธุ์อย่างเฟ้นสุ่ม มโนทัศน์ว่าด้วยเรื่องชีวภูมิศาสตร์ของเกาะนั้นเป็นผลจากการแปลอย่างรวบยอดให้เกาะในทางกายภาพกลายเป็นแผ่นที่เป็นแหล่งอาศัยด้วยตัวแบบทางอภิประชากรของเลวิน (ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับตัวอย่างเช่นเกาะที่มีป่าในภูมิทัศน์ทางการเกษตร) การสรุปรวบยอดดังกล่าวนี้ทำให้เกิดการขยายตัวของสาขาวิชานิเวศภูมิทัศน์และทำให้นักชีววิทยาอนุรักษ์ได้มีเครื่องมือใหม่ในการทำความเข้าใจว่าการแตกกระจายของแหล่งอาศัยมีผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของประชากรสิ่งมีชีวิตอย่างไร ความก้าวหน้าของนิเวศภูมิทัศน์ในปัจจุบันเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) และข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่เปิดให้เข้าถึงได้มากขึ้น ในขณะที่วิชาภูมิศาสตร์ทั่วไปและสาขาวิชาย่อยนั้นเน้นไปที่การศึกษากลุ่มชุมชนเฉพาะที่มีความเป็นเอกพันธุ์และจัดการตนเองด้วยระบบชั้นสูงต่ำ วิชานิเวศภูมิทัศน์นั้นเกิดขึ้นบนการศึกษาพื้นที่และเวลาที่มีความเป็นพหุพันธุ์ ที่ความเปลี่ยนแปลงในทางภูมิทัศน์นั้นมาจากมนุษย์ทั้งในทางทฤษฏีและในการประยุกต์ใช้คอนเซปต์ต่างๆ กระทั่งในปี 1980 นิเวศภูมิทัศน์นั้นก็ได้กลายเป็นสาขาวิชาหนึ่งเต็มตัว โดยมีหมุดหมายคือการจัดตั้งสมาคมนิเวศภูมิทัศน์นานาชาติหรือ IALE..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Krater คราเตอร์หรือ κρατήρ เป็นคำจากภาษากรีกที่มีความหมายถึงการผสม ในที่นี้มีความหมายถึงภาชนะขนาดใหญ่รูปทรงเหมือนแจกันขนาดยักษ์ที่มีไว้ใช้ผสมไวน์กับน้ำในยุคสมัยของอารยธรรมกรีกโบราณ บทบาทและความสำคัญของคราเตอร์ คราเตอร์จะถูกวางไว้ตรงจุดศูนย์กลางของซิมโพเซียม เนื่องจากขนาดใหญ่โตของมัน คราเตอร์จึงไม่สามารถถูกเคลื่อนย้ายได้เมื่อมันถูกเติมจนเต็ม เพราะฉะนั้นส่วนผสมของไวน์และน้ำเปล่าในคราเตอร์จึงต้องถูกตักออกไปด้วยภาชนะอันอื่น ในโอดิสซีที่ประพันธ์โดยมหากวีโฮเมอร์นั้นก็มีการบรรยายถึงคราเตอร์ว่าไม่ว่าจะในซิมโพเซียมหรือในการชุมนุมร่วมกันอื่นๆ นั้นจะมีบริกรเป็นผู้ตักรินไวน์จากตัวคราเตอร์จากนั้นจึงวิ่งนำไวน์ไปรินให้กับแขกที่มาเข้าร่วมพิธี โดยบริกรก็จะวิ่งไปวิ่งมาระหว่างคราเตอร์กับแขกผู้มีเกียรติตลอดทั้งงาน ในภาษากรีกปัจจุบัน คำว่า krasi ที่หมายถึงไวน์ผสมหรือเจือจางแล้วนั้นมีรากศัพท์มาจากคำว่า krasis ในภาษากรีกโบราณที่หมายถึงการผสมกันระหว่างน้ำและไวน์ในคราเตอร์นั่นเอง ภายในของคราเตอร์นั้นจะถูกขัดไว้จนขึ้นเงาเพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการเก็บของเหลวและชาวกรีกโบราณอาจจะทำเช่นนั้นเพื่อเหตุผลทางสุนทรียศาสตร์ด้วยก็เป็นได้ เนื่องจากภายในของคราเตอร์นั้นสามารถถูกมองเห็นได้อย่างชัดเจน ขั้นตอนและพิธีกรรม ในตอนเริ่มต้นของซิมโพเซียมทุกครั้งจะต้องมีการเลือกตั้ง เจ้าแห่งเครื่องดื่มร่วมกัน ขึ้นมาจากผู้เข้าร่วมในพิธี ผู้ที่ถูกรับเลือกนั้นก็จะต้องมีหน้าที่ควบคุมทาสที่มีหน้าที่รินไวน์และมีหน้าที่ดูแลสัดส่วนของไวน์กับน้ำในคราเตอร์ รวมไปถึงวิธีการผสมและเจือจางและต้องดูแลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเครื่องดื่มนั้นตลอดตราบจนกว่างานเลี้ยงจะเลิกรา ไปจนถึงต้องควบคุมว่าจะให้บริกรรินไวน์ให้กับผู้ที่เข้ามาร่วมงานแต่ละคนเท่าใดอีกด้วย เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าการที่คราเตอร์จะเต็มหรือจะหมดนั้นเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับอำนาจของซิมโพซิอาร์คของงานนั้นๆ โดยตรง ซิมโพซิอาร์คที่มีความสามารหรือเจนประสบการณ์จะต้องสามารถคาดเดาหรือสามารถอ่านผู้เข้าร่วมออกได้ว่าผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีปริมาณในการดื่มที่เหมาะสมเท่าใด เพื่อที่จะสามารถทำให้ซิมโพเซียมดำเนินไปได้อย่างราบรื่นโดยไม่เกิดการเมามายที่มากเกินไปกว่าที่เหมาะควร การผสมไวน์ ในยุคกรีกโบราณนั้น การดื่ม akratos หรือไวน์ที่ไม่ผสมหรือเจือจางนั้นถือเป็นการกระทำที่ไม่ควร ละมีผลที่จะทำให้ผู้อื่นสามารถมองนักดื่มคนนั้นว่าเป็นพวกมัวเมาไม่รู้เหนือใต้และยังเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติในการระงับยับยั้งชั่งใจตนเองและเป็นผู้ที่ขาดหลีกการขั้นพื้นฐาน ผู้เขียนในยุคโบราณได้กำหนดส่วนผสมระหว่างไวน์กับน้ำเปล่าไว้ในอัตราที่เหมาะสมคือหนึ่งต่อสาม (ไวน์ต่อน้ำเปล่า) นั้นเหมาะสมกับการพูดคุยกันอย่างออกรสยาวนาน ในขณะที่อัตราส่วนที่หนึ่งต่อสองนั้นใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการความสนุกสนานอย่างขาดมิได้ และอัตราส่วนหนึ่งต่อหนึ่งนั้นใช้เมื่อความสำราญรวมหมู่ขั้นสูงสุดเท่านั้นซึ่งไม่ใช่อัตราการผสมที่จะได้ใช้กันบ่อยครั้งนัก หากว่าไม่ได้ใช้ไปเลยโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อทบทวนอีกครั้งว่าการผสมกับน้ำนั้นไม่ว่าจะในอัตราส่วนเท่าใดก็ตามแต่แทบจะทำให้ไวน์ในยุคปัจจุบันสูญเสียรสชาติที่พึงมีไปหมดสิ้นแล้ว ทำให้เกิดการตั้งข้อสันนิษฐานว่าชาวกรีกโบราณหรือผู้คนในยุคโบราณนั้นอาจจะบ่มและผลิตไวน์ที่มีแอลกอฮอล์และดีกรีของน้ำตาลในระดับที่สูงมาก ซึ่งอาจจะใช้องุ่นที่ผ่านการดีไฮเดรตแล้วซึ่งสามารถผสมรวมหรือเจือจางกับน้ำได้ดีกว่า ไวน์ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นจะสามารถคงสภาพเมื่อเวลาผ่านไปและทนต่อเหตุที่คาดเดาไม่ได้ในขณะขนส่งได้มากกว่า แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีการค้นพบสูตรหมักบ่มหรือผลิตไวน์ที่ชาวกรีกโบราณได้ทิ้งไว้แต่อย่างใด

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Garden Design การออกแบบจัดสวนเป็นศิลปะและกระบวนการของการออกแบบและการสร้างแผนสำหรับการปลูกสวนและภูมิทัศน์ การออกแบบจัดสวนอาจจะทำโดยเจ้าของสวนด้วยตัวเองหรือทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งต่างคนต่างมีความแตกต่างในแง่ของระดับของประสบการณ์และความเชี่ยวชาญแตกต่างกันไป นักออกแบบสวนมืออาชีพโดยส่วนใหญ่มีการฝึกอบรมในระดับสูงว่าด้วยองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชสวนและหลักการของการออกแบบ และนอกจากนั้นบางส่วนยังเป็นสถาปนิกภูมิทัศน์ที่มีความชำนาญในระดับสูง ซึ่งเป็นการศึกษาอย่างเป็นทางการในระดับสูงและโดยส่วนใหญ่จะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐส่วนกลาง ในบางกรณี ผู้นิยมออกแบบจัดสวนสมัครเล่นอาจเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ระดับสูงจากชั่วโมงการทำงานในสวนของตัวเองมาอย่างยาวนาน หรือได้ประสบการณ์การออกแบบสวนด้วยการผ่านการศึกษาที่เป็นระเบียบทางการอย่างหลักสูตรการออกแบบจัดสวนขั้นสูงหรือโดยการเข้าร่วมชมรมผู้นิยมออกแบบและจัดสวน แนวคิดเบื้องต้นของการทำสวน ไม่ว่าสวนนั้นจะถูกออกแบบด้วยมืออาชีพหรือมือสมัครเล่นก็ตาม หลักการสำคัญที่รวมกันเป็นพื้นฐานสำหรับการออกแบบจัดสวนให้มีประสิทธิภาพนั้นก็ต้องถูกระบุไว้เพื่อให้การออกแบบจัดสวนได้ผลสำเร็จออกมาตามที่ต้องการ นั่นคือการบรรลุตามความประสงค์ของข้าวของหรือผู้ออกแบบนั่นเอง องค์ประกอบสำคัญของการออกแบบจัดสวนนั้นได้แก่สิ่งที่เป็นภูมิทัศน์แข็งอย่างเช่นทางเดิน กำแพง องค์ประกอบที่มีน้ำเป็นส่วนเกี่ยวข้อง และรวมไปถึงต้นไม้หรือพืชบางชนิดด้วย โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางด้านพืชกรรมสวน, รูปลักษณ์ในแต่ละฤดูกาล, รูปโฉมภายนอก, ช่วงอายุ, ลักษณะของการเจริญเติบโต, ขนาด, ความเร็วในการเจริญเติบโต, และการผสมผสานอยู่ร่วมกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ และถูมิทัศน์ของตัวสวนด้วย นอกจากนี้เรื่องของการทำนุบำรุงรักษาสวนโดยรวมก็ต้องนำเข้ามาพิจารณาอย่างมีนัยสำคัญด้วย โดยในประเด็นนี้ก็มีเรื่องของเวลาและต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการบำรุงรักษาที่จ้องทำอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เกิดการส่งผลต่อตัวเลือกของพืชพันธุ์ที่จะนำมาปลูก ที่จะต้องพิจารณาเรื่องความรวดเร็วในการเจริญเติบโต การยายตัวหรือการหว่านเมล็ดด้วยตัวเองของพืช ต้องดูว่าพืชมีลักษณะวงจรชีวิตแบบจบครบรอบในหนึ่งปี (annual) หรือเป็นพืชที่มีอายุยืนเกินกว่าสองปีขึ้นไป (perennial) ประวัติศาสตร์ของการจัดสวน ในทางประวัติศาสตร์นั้น ต้นกำเนิดของการออกแบบจัดสวนมีจุดเริ่มต้นมาจากสวนเปอร์เซียที่เป็นกำเนิดของการออกแบบจัดสวนเพื่อหวังผลทางสุนทรียศาสตร์และใช้การวางแบบร่างเป็นเส้นตรง การปลูกต้นไม้ในสวนยุโรปยุคกลางนั้นมักจะเป็นการเพาะปลูกผสมผสานระหว่างสมุนไพรเพื่อนำไปใช้เป็นยา, พืชผักที่นำไปใช้บริโภค และไม้ดอกที่นำไปใช้สำหรับประดับตกแต่ง การเพาะปลูกพืชเพื่อเป้าหมายทางสุนทรียศาสตร์เพียงอย่างเดียวนั้นกำเนิดขึ้นในยุโรปหลังจากสิ้นสุดยุคกลางและทวีปยุโรปได้เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการหรือ renaissance แล้ว ดังที่ปรากฏในภาพวาดจากตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการนั่นเอง ส่วนในทางเอเชีย แนวทางการออกแบบและจัดสวนอย่างสมมาตรที่ปรากฏในสวนจีนและสวนญี่ปุ่นนั้นก็มีจุดกำเนิดในยุคราชวงศ์ฉินของจีน การเพาะปลูกและจัดวางองค์ประกอบในธรรมเนียมการออกแบบจัดสวนประเภทที่ว่านี้ดำเนินอยู่บนหลักว่าด้วยสุนทรียศาสตร์ที่ถูกตีกรอบและคงความเป็นธรรมชาติหรือลักษณะธรรมชาตินิยมไว้ โดยสวนญี่ปุ่นนั้นเป็นการออกแบบและจัดสวนที่มีแนวคิดและเป้าประสงค์ในการสร้างภูมิทัศน์ในอุดมคติขนาดย่นย่อและมักจะปรากฏออกมาในลักษณะแบบมินิมัลลิสม์และมีความเป็นนามธรรมอยู่สูง ทั้งนี้ก็ยังเป็นการออกแบบจัดสวนที่เป็นไปเพื่อการผ่อนคลายและในกรณีของสวนเซ็นนั้นก็ยังเป็นการออกแบบและจัดสวนเพื่อการพิจารณาใคร่ครวญและการทำสมาธิในแนวคิดแบบพุทธศาสนาอีกด้วย โดยต้นกำเนิดแล้ว การออกแบบและจัดสวนของญี่ปุ่นนั้นได้รับอิทธิพลมาจากการออกแบบและจัดสวนแบบจีน ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นการออกแบบและจัดสวนที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองในที่สุดในยุคเอโดะ

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

สวนภูมิทัศน์อังกฤษ หรือเรียกอีกอย่างว่าสวนอังกฤษนั้นหมายถึงสไตล์การจัดตกแต่งสวนภูมิทัศน์ที่ปรากฏครั้งแรกในสหราชอาณาจักรศตวรรษที่สิบแปดตอนต้น และได้แพร่กระจายไปในยุโรปวงกว้างในเวลาต่อมา และได้รับความนิยมจนขึ้นเป็นสไตล์การจัดสวนหลักในยุโรป แทนที่การจัดสวนในสไตล์ที่เป็นทางการกว่าและมีความสมมาตรมากกว่าอย่าง ฌาร์แดง อา ลา ฟรังเซ ที่มีมานับตั้งแต่ศตวรรษที่สิบเจ็ด สวนภูมิทัศน์อังกฤษนั้นนำเสนอภาพลักษณ์ในอุดมคติของธรรมชาติ สไตล์การจัดสวนดังกล่าวนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาพวาดภูมิทัศน์โดยโคล้ด ลอร์รังและนิโคลาส ปูแซง และในกรณีของการจัดสวนแบบผสมอังกฤษ-จีนนั้นก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการการจัดสวนแบบจีนที่เพิ่งถูกนำเข้ามาในยุโรปได้ไม่นานนักผ่านทางปากคำบอกเล่าบรรยายของนักท่องเที่ยว   จุดเด่นของสวนสไตล์อังกฤษ สวนภูมิทัศน์อังกฤษนั้นมักจะประกอบไปด้วยทะเลสาบ สนามหญ้าเกลี่ยเรียบเกลี้ยงที่จัดไว้เทียบเคียงกับป่าสุมทุมพุ่มไม้ และยังมีแบบจำลองของอารามโบราณ และซากปรักหักพังของอาคารสไตล์โกธิค สะพานแบบต่างๆ และสถาปัตยกรรมสวยงามราวภาพวาดอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดต่างสร้างขึ้นเพื่อหวังผลเป็นภาพท้องทุ่งภูมิทัศน์หมดจดราวบทกวี ผลงานการจัดตกแต่งสวนของ แลนเซลอท “แคพาบิลิตี” บราวน์ นั้นมีอิทธิพลอย่างมากเป็นพิเศษ ในช่วงสิ้นสุดศตวรรษที่สิบแปด สวนภูมิทัศน์อังกฤษ นั้นก็ถูกลอกเลียนต่อมาโดยสวนภูมิทัศน์ฝรั่งเศสและสวนในอนาคตกาลของจักรพรรดิพอลที่เซนต์ปีเตอร์สบูร์ก ประเทศรัสเซีย นอกจากนั้น สวนภูมิทัศน์อังกฤษยังส่งอิทธิพลอย่างมากต่อรูปแบบของสวนสาธารณะและสวนในบ้านที่เริ่มปรากฏขึ้นทั่วโลกในศตวรรษที่สิบเก้า   ความเป็นมาของการตกแต่งสวนสไตล์อังกฤษ ตามประวัติศาสตร์แล้ว ก่อนหน้าสวนภูมิทัศน์อังกฤษนั้นก็มีสวนที่มีลักษณะใกล้เคียงกันคือสวนขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยเซอร์ จอห์น แวนบรากห์ และ นิโคลลาส ฮอว์กส์มัวร์ ที่คาสเซิลฮาเวิร์ด (1699-1712) เบลนไฮม์พาเลซ (1705-1722) และสวนภูมิทัศน์แคลร์มองต์ที่แคลร์มองต์เฮาส์ (1715-1727) สวนเหล่านี้มีทั้งสนามหญ้ากว้างใหญ่ ป่าปลูก และสถาปัตยกรรมหลายชิ้น ตรงจุดกึ่งกลางของสวนนั้นก็จะเป็นที่ตั้งของตัวบ้าน โดยด้านหลังนั้นจะเป็นสวนที่มีลักษณะทางการและสมมาตรในสไตล์การจัดสวนแบบฝรั่งเศสที่มีทั้งพรมประดับไม้ดอกที่ออกแบบการจัดวางให้เกิดลวดลายสวยงามและกำแพงพฤกษา..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Earthquake Engineering วิศวกรรมแผ่นดินไหวเป็นสาขาหนึ่งในวิชาวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการป้องกันสังคมรวมถึงสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นให้รอดพ้นจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว ด้วยการพยายามลดหรือจำกัดแรงสั่นสะเทือนที่จะส่งผลเสียหายในเชิงเศรษฐกิจและสังคมให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกินไป โดยพื้นฐานดั้งเดิมแล้ว สาขาวิชาวิศวกรรมแผ่นดินไหวนั้นได้รับการจำกัดความให้เป็นการศึกษาว่าด้วยพฤติกรรมของโครงสร้างต่างๆ และประเด็นเรื่องภูมิศาสตร์โครงสร้างที่มีต่อแรงกดของการสั่นสะเทือน วิศวกรรมแผ่นดินไหวจึงถือเป็นสาขาวิชาย่อยของทั้งวิศวกรรมโครงสร้างและวิศวกรรมธรณีเทคนิค อย่างไรก็ตาม ค่าเสียหายที่ต้องจ่ายจำนวนมหาศาลหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งต่างๆ ที่ผ่านมาไม่นานนี้ได้นำไปสู่การขยายประเด็นของวิศวกรรมแผ่นดินไหวเพื่อให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่สาขาวิชาของวิศวกรรมโยธาและพื้นที่สาขาวิชาของสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการเงินหรือบัญชี เป้าประสงค์หลักๆ ของวิศวกรรมแผ่นดินไหวนั้นได้แก่ -ระบุอย่างกะเกณฑ์ได้ว่าผลกระทบที่เป็นไปได้จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่กำลังจะเกิดนั้นจะมีผลต่อพื้นที่เขตตัวเมืองและโครงสร้างส่วนล่างของเมืองมากน้อยเพียงใด -ออกแบบวางแผน ก่อสร้าง และรักษาโครงสร้างหรือสิ่งก่อสร้างที่สามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางเหตุการณ์แผ่นดินไหวโดยผ่านเกณฑ์ขั้นที่น่าพอใจของกฎหมายตรวจสอบอาคารหรือ building code แต่ทั้งนี้ สิ่งปลูกสร้างที่ถูกออกแบบก่อสร้างอย่างเหมาะสมนั้นไม่จำเป็นจะต้องหมายถึงสิ่งปลูกสร้างที่มีราคาแพงหรือแข็งแรงเป็นพิเศษ เพียงแต่จะต้องเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ถูกออกแบบมาให้สามารถรับมือกับแรงสั่นสะเทือนได้อย่างเหมาะสมในขณะที่สามารถรองรับความเสียหายในระดับที่ไม่มากเกินไปไว้กับตัวมันเองได้ การประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างเพื่อรับมือสถานการณ์แผ่นดินไหว การก่อสร้างโครงสร้างที่ต่อต้านแรงสั่นของแผ่นดินไหวนั้นหมายถึงการประยุกต์การออกแบบแรงสั่นเพื่อนำมาใช้ก่อสร้างอาคารจริง เพื่อให้ทั้งโครงสร้างทั้งที่เป็นอาคารและไม่ได้เป็นอาคารสารดำรงอยู่ได้หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและแรงสั่นสะเทือนในระดับที่ได้คาดคะเนไว้ล่วงหน้าได้ผ่านเลยไปแล้วโดยเป็นตามที่กฎหมายตรวจสอบอาคารหรือ building code ได้ระบุเอาไว้ การออกแบบและการก่อสร้างนั้นมีความสัมพันธ์อย่างล้ำลึก เพื่อที่จะได้งานก่อสร้างที่ดี การระบุรายละเอียดเกี่ยวกับสมาชิกและความสัมพันธ์ที่แต่ละฝ่ายมีต่อกันนั้นควรจะเป็นไปอย่างเรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในกรณีการก่อสร้างโดยทั่วไปนั้น การวิศวกรรมแผ่นดินไหวนั้นเป็นกระบวนการที่ว่าด้วยการก่อสร้างตัวโครงสร้างและการจัดวางหรือสลับปรับเปลี่ยนวัสดุหรือองค์ประกอบในการก่อสร้างที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม ผลกระทบที่ก่อให้เกิดการเสียความเสถียรภาพที่เป็นผลมาจากแรงสั่นของแผ่นดินไหวที่มีต่อตัวสิ่งปลูกสร้างนั้นเป็นได้ทั้งแบบโดยตรง นั่นคือแรงสั่นดำเนินผ่านพื้นดิน หรือแบบโดยอ้อม นั่นคือแรงสั่นนำไปสู่ภัยพิบัติรูปแบบอื่นๆ เช่นดินถล่ม ชั้นดินเหลว และคลื่นยักษ์สึนามิ เป็นต้น ตัวโครงสร้างนั้นโดยในเบื้องแรกอาจดูมีความเสถียรและแข็งแรงมากพอ แต่ก็ยังสามารถก่อให้เกิดอันตรายที่คาดไม่ถึงได้หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความปลอดภัยที่สำคัญอย่างยิ่งคือเทคนิคหรือวิธีการที่ใช้ในการต่อต้านแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวนั้นมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการตรวจสอบคุณภาพของสิ่งปลูกสร้างและการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมถูกต้อง เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวนั้นควรได้รับการติดตั้งในบริเวณที่จำเป็นเหมาะสมและควรได้รับการตรวจสอบด้วยผู้เชียวชาญอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดระดับความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นให้ต่ำลงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กระบวนการก่อสร้างจึงควรดำเนินไปโดยตระหนักรู้อยู่เสมอว่าแผ่นดินไหวอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ เพราะฉะนั้น โครงการก่อสร้างใดๆ จึงต้องมีการจัดหาทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่เป็นมืออาชีพที่สามารถเข้าใจปรากฏการณ์และภาวะแสดงออกของการสั่นสะเทือนต่อโครงสร้างแต่ละแบบที่แตกต่างกันรวมไปถึงการจัดการโครงสร้างเล่านั้นด้วย..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

กระถางต้นไม้ตกแต่งสวน