Category :วัสดุ งานก่อสร้าง

Posted in : วัสดุ งานก่อสร้าง on by : Webmaster Comments: 0

เสาหรือ pillar หรือ column ในภาษาอังกฤษนั้นมีความหมายในทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมเชิงโครงสร้างว่าเป็นโครงสร้างที่มีหน้าที่สำหรับส่งผ่านน้ำหนักของโครงสร้างส่วนบนผ่านการกดทับไปยังองค์ประกอบที่อยู่ข้างใต้ ในอีกความหมายหนึ่ง เสาจึงถือเป็นองค์ประกอบในกระบวนการกดทับของโครงสร้าง คำว่าเสานั้นสามารถใช้ได้โดยเฉพาะกับตัวค้ำยันที่มีลักษณะทรงกระบอกที่ส่วนยอดและส่วนฐาน สร้างขึ้นด้วยหินหรือมีรูปลักษณ์เป็นเช่นนั้น เสาที่สร้างขึ้นจากไม้หรือเหล็กที่ใช้ค้ำจะถูกเรียกว่า post ในภาษาอังกฤษในบางกรณีที่ตัวอาคารจะต้องเผชิญหน้ากับลมหรือแผ่นดินไหวที่รุนแรงนั้น วิศวกรก็จะออกแบบตัวเสาให้มีคุณสมบัติต้านทานแรงผลักในแนวขวางอย่างเป็นพิเศษ นอกจากนั้นเสายังสามารถมีหน้าที่ในการประดับประดาตกแต่งตัวโครงสร้างโดยไม่ได้มีความจำเป็นในฐานะตัวค้ำโครงสร้างส่วนบนแต่อย่างใดได้ด้วย  ประวัติและความเป็นมาของเสา ประวัติของการสร้างเสานั้นสันนิษฐานว่าเริ่มมาจากอารยธรรมอันใดอันหนึ่งในยุคเหล็กของภูมิภาคทางตะวันออกกลางและแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยแรกเริ่มนั้นมีการสร้างเสาเพื่อนำมาใช้ในงานสถาปัตยกรรม โดยตัวเสาจะมีโครงสร้างเป็นหินที่มีส่วนหนึ่งเว้นไว้สำหรับให้เป็นรูปสลัก พบจากร่องรอยว่ารูปสลักนั้นเป็นผลงานของช่างชาวอียิปต์ เปอร์เซีย และ อารยธรรมอื่นๆ ด้วย ส่วนใหญ่จะมีจุดประสงค์เพื่อในการรับน้ำหนักจากโครงสร้างส่วนบน เช่น หลังคา และภายในของตัวอาคารและมีการตกแต่งด้วยสีสันหรือภาพวาดต่างๆ แต่ชาวกรีกโบราณจะนิยมใช้ไม้ที่มีขนาดกว้างขวางมากกว่ามาสร้างเป็นเสาทั้งภายในและภายนอกอาคาร โดยเน้นไปในทางรูปแบบงานเสาแบบคลาสลิค ประเภทของเสาในอารยธรรมโบราณ วิตรูเวียส นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันได้เล่าโดยอ้างอิงจากงานของนักเขียนกรีกไร้นามคนหนึ่งว่า ชาวกรีกโบราณนั้นเชื่อว่าเสาแบบโดริกนั้นพัฒนามาจากเทคนิคที่ใช้ในการสร้างอาคารไม้ โดยเปลี่ยนจากไม้ขัดเนื้อนิ่มมาเป็นแท่งหินกลมแทน เสาแบบโดริกนั้นเป็นงานสร้างเสาในรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดและซับซ้อนน้อยที่สุดในธรรมเนียมการสร้างเสาแบบคลาสสิค โครงสร้างโดยหลักของเสาโดริกนั้นประกอบด้วยตัวเสาหินที่มีขนาดกว้างตรงส่วนฐาน โดยทั่วไปแล้วไม่มีการลงรายละเอียดตกแต่งใดๆ เป็นพิเศษ เสาโดริกนั้นถูกพัฒนาขึ้นในเขตโดเรียนของกรีกโบราณ ถือกันว่าเป็นงานสร้างเสาที่มีมวลและน้ำหนักมากที่สุดจากบรรดางานสร้างเสาของกรีกโบราณทั้งหมด เสาในแบบต่อมาคือเสาแบบทัสกันที่มีรูปลักษณ์การออกแบบที่เรียบง่ายเช่นเดียวกับเสาโดริก มีอัตราส่วนระหว่างความสูงกับความกว้างโดยประมาณอยู่ที่ 7:1 โดยประมาณ

Posted in : วัสดุ งานก่อสร้าง on by : Webmaster Comments: 0

การวางหรือการก่อสร้างฐานรากนั้นเป็นการก่อสร้างส่วนที่อยู่ล่างสุดของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม โดยการก่อสร้างฐานรากนั้นแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือการสร้างฐานรากแบบตื้นและการสร้างฐานรากแบบลึก การออกแบบและการก่อสร้างประเภทนี้เรียกในอีกชื่อได้ว่าเป็นงานวางฐาน โดยเฉพาะเมื่อกล่าวถึงโครงการก่อสร้างสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ จุดกำเนิดของวิศวกรรมฐานราก การวางหรือการก่อสร้างรากฐานนั้นสามารถนับย้อนไปในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่โบราณที่ปรากฏมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่การใช้ไม้ค้ำจุนโครงสร้างเรือนหรือการก่อสร้างและค้ำด้วยกิ่งก้านหลายอัน ไปจนถึงการวางหินรองพื้นหรือการทำดรายสโตนด้วยการวางหินในชั้นฐานรากแล้วฉาบด้วยปูนซึ่งอาจจะทำหลังการก่อสร้างโครงสร้างหลักสำเร็จแล้ว (วิธีการนี้อาจถูกนำไปทำไว้ตรงส่วนบนของโครงสร้างเพื่อแสดงออกในฐานะการประดับตกแต่งก็ได้) จนมาสู่วิธีการก่อสร้างฐานรากที่ใช้การขุดชั้นดินเป็นสนามเพลาะแล้วถมด้วยยางหรือหินตรงส่วนรากฐาน แนวทางการก่อสร้างรากฐานดังกล่าวนี้จะสามารถยืดขยายลงไปในชั้นดินได้พ้นไปจากแนวชั้นเยือกแข็งที่ชั้นดินและน้ำใต้ดินจะจับตัวเยือกแข็ง รูปแบบการวางฐานรากสมัยใหม่ ส่วนการสร้างฐานรากในสมัยใหม่นั้น ประเภทหนึ่งคือการสร้างฐานรากแบบตื้นหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าฟุตติ้ง การก่อสร้างฐานรากแบบนี้จะฝังลงไปในดินในระดับหนึ่งเมตรโดยประมาณ รูปแบบทั่วไปอันหนึ่งคือการฟุตติ้งแบบแยกกระจายที่ใช้บางส่วนหรือแผ่นของปูนคอนกรีตหรือวัสดุอื่นๆ ที่จะยืดยาวลงไปในดินพ้นแนวชั้นเยือกแข็งเพื่อรับแรงกดจากกำแพงและเสาในตัวอาคารแล้วส่งลงไปในดินหรือหินหมอนที่รองรับ อีกรูปแบบหนึ่งของการสร้างฐานรากแบบตื้นนั้นคือการสร้างฐานแบบ slab-on-grade หรือการสร้างฐานรากบนแผ่นหนาที่น้ำหนักของตัวอาคารจะถูกส่งไปยังชั้นดินผ่านแผ่นปูนคอนกรีตหนาที่วางไว้บนพื้นผิว โดยขนาดของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างฐานรากประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของโครงสร้างโดยวัสดุสามารถมีความหนาตั้งแต่ที่ยี่สิบเซนติเมตรไปจนถึงความหนาหลายเมตร ประเภทที่สองคือการสร้างฐานรากแบบลึกที่มีจุดประสงค์เพื่อส่งน้ำหนักของโครงสร้างผ่านชั้นดินอ่อนด้านบนลงไปยังชั้นดินล่างที่แข็งแรงกว่า การสร้างฐานรากแบบลึกนั้นมีหลากหลายแบบตั้งแต่การวางตอม่อเพื่อขับแรงสะเทือน, การวางคานเจาะ, การใช้เคซองหรือห้องใต้น้ำมีอากาศสำหรับสร้างสะพาน, การใช้เสาทำให้แผ่นดินเสถียร ธรรมเนียมการเรียกการสร้างฐานรากในแบบต่างๆ นั้นมีความเหลื่อมกันไปขึ้นอยู่กับวิศวกรแต่ละคน รากฐานนั้นจะถูกออกแบบให้มีสมรรถภาพในการรองรับแรงกดอย่างเหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับชั้นดินรองที่หนุนตัวฐานรากอีกต่อหนึ่งซึ่งผ่านการคิดวิเคราะห์โดยวิศวกรภูมิศาสตร์เทคนิคแล้ว ส่วนในส่วนของตัวฟุตติ้งเองนั้นอาจได้รับการออกแบบโดยวิศวกรที่ทำงานในเชิงโครงสร้าง ความใส่ใจหลักของการออกแบบรากฐานนั้นคือเรื่องของการจัดตั้งและสมรรถภาพในการรองรับน้ำหนักและแรงสะเทือน เมื่อว่าด้วยเรื่องของการลงหลักปักฐานแล้ว สิ่งที่จะถูกพิจารณาต่อไปคือเรื่องที่ว่ารากฐานนั้นเป็นการลงหลักปักฐานรูปแบบใดจากสองแบบนั่นคือ การลงหลักปักฐานเต็มรูปแบบหรือการลงหลักปักฐานแบบลดหลั่นกันไป การลงหลักปักฐานแบบลดหลั่นกันไปนั้นหมายถึงเมื่อตัวฐานรากบางส่วนนั้นกดลงลึกกว่าส่วนอื่น เหตุการณ์เช่นนี้อาจนำไปสู่การสร้างปัญหาต่อตัวโครงสร้างที่ตัวฐานรากนั้นสนับสนุนรองรับอยู่ นอกจากนั้นการขยายตัวของดินเหนียวก็ยังเป็นตัวการสร้างปัญหาอีกประการหนึ่ง

Posted in : วัสดุ งานก่อสร้าง on by : Webmaster Comments: 0

คานรับน้ำหนักคือองค์ประกอบในทางโครงสร้างอันหนึ่งที่มีสมรรถภาพในการรองรับแรงกดหรือแรงถ่วงด้วยการไม่เอนอ่อนเป็นหลัก แรงกดและแรงบิดจะถูกถ่ายทอดเข้าสู่ตัววัสดุที่ทำหน้าที่เป็นคานรับน้ำหนักเพราะเป็นผลมาจากการถ่วงจากภายนอกหรือน้ำหนักส่วนเกินของตัววัสดุเอง ช่วงห่างหรือ span และปฏิกิริยาภายนอกที่มีต่อการถ่วงเหล่านี้ถูกเรียกว่าชั่วโน้มเอียง (bending moment) คานรับน้ำหนักนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวอยู่ที่รูปร่างโดยทั่วไปของมันอันได้แก่ความยาวและวัสดุที่ประกอบขึ้นอันเป็นที่มาของมัน ลักษณะทั่วไปของคานรับน้ำหนัก โดยทั่วไปแล้ว คานรับน้ำหนักถูกใช้เป็นชื่อเรียกหรือคำอธิบายในสาขาของการก่อสร้างหรือการวิศวกรรมโยธาองค์ประกอบทางโครงสร้าง แต่ในระบบโครงสร้างขนาดเล็กอย่างเช่นรถบรรทุกหรือยานพาหนกรอบเครื่องยนต์, กรอบจักรกล รวมไปถึงระบบเครื่องยนต์และและโครงสร้างแบบอื่นๆ นั้นก็มีคานรับน้ำหนักเป็นส่วนประกอบ ซึ่งตัวคานรับน้ำหนักของโครงสร้างพวกนี้นั้นก็ได้รับการวิเคราะห์และออกแบบด้วยกรรมวิธีการที่ใกล้เคียงกัน ประวัติความเป็นมา พูดในทางประวัติศาสตร์แล้ว คานรับน้ำหนักนั้นทำจากวัสดุอย่างท่อนไม้สี่เหลี่ยมและยังทำจากเหล็ก หิน และวัสดุผสมระหว่างเหล็กและไม้อย่างเช่น flitch beam คานรับน้ำหนักโดยทั่วไปรองรับแรงโน้มถ่วงในแนวดิ่งแต่ในบางกรณีก็ยังสามารถใช้เพื่อแบกรับแรงถ่วงในแนวขวางได้ด้วย (เช่นแรงผลักที่เกิดจากแผ่นดินไหวหรือลมพายุหรือการใช้คานรับน้ำหนักรั้งวัตถุในกระแสน้ำ แรงถ่วงที่กระทำกับคานรับน้ำหนักจะถูกส่งทอดต่อไปยังเสา กำแพง และนั่งร้าน ที่ต่อมาแรงที่เหลือจะถูกส่งต่อไปยังองค์ประกอบในโครงสร้างชิ้นอื่นๆ ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง ประเภทของคานรับน้ำหนัก ในทางวิศวกรรมนั้น คานรับน้ำหนักสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท การจัดแบ่งประเภทของคานรับน้ำหนักนั้นสามารถทำได้โดยใช้วิธีรองคานเป็นเกณฑ์ดังนี้คือ 1. การรองคานแบบเรียบง่าย-คานรับน้ำหนักจะถูกใช้รองรับที่ปลายทั้งสองด้านที่ต่างสามรถหมุนไปมาได้อย่างอิสระไม่มีสิ่งใดกั้นขวาง 2. การรองคานแบบหยุดนิ่งกับที่-คานรับน้ำหนักจะขยายการรองรับจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง 3. การวางคานแบบแขวนโหน-คานรับน้ำหนักรูปทรงปกติจะถูกวางให้ยืดยาวออกจากฝั่งที่มันตั้งอยู่ออกไป 4. การวางคานแบบแขวนโหนสองด้าน-คานรับน้ำหนักรูปทรงปกติที่ปลายทั้งสองด้านยื่นออกเกินกว่าโครงสร้างบนที่มันรองรับ 5. การวางคานต่อเนื่อง-คานรับน้ำหนักแต่ละอันจะถูกวางให้ยืดออกรับเกินกว่าโครงสร้างบนสองส่วน 6. การวางแบบคานยื่น-คานรับน้ำหนักแบบยื่นจะถูกติดตั้งไว้ที่ปลายด้านหนึ่ง 7. การวางแบบคานค้ำ-คานรับน้ำหนักถูกยึดตรึงด้วยการติดสายหรือท่อนโลหะจากคาน คานรับน้ำหนักโดยส่วนใหญ่ที่ถูกติดตั้งในตึกอาคารแบบคอนกรีตเสริมเหล็กจะมีรูปร่างวัดด้านตัดเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่รูปทรงแนวตัดที่มีประสิทธิภาพมากกว่าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าคือทรงตัว H ทั้งแนวตั้งและแบบแนวนอน I ซึ่งต่างมักจะถูกใช้ในโครงสร้างอาคารที่เป็นเหล็กกล้า เนื่องมาจากสัจพจน์ว่าด้วยแกนขนานและข้อเท็จจริงที่ว่าวัสดุที่ถูกนำมาใช้โดยส่วนใหญ่นั้นห้างไกลจากคุณสมบัติเป็นแกนกลาง..

Posted in : วัสดุ งานก่อสร้าง on by : Webmaster Comments: 0

โพลียูรีเทน คืออะไร และ ใช้ทำอะไร – ทำความรู้จักได้ที่บทความนี้ การตัดต้นทุนการผลิต เพื่องานออกแบบ และตกแต่งภายใน จำเป็นต้องใช่วัสดุ ที่คุ้มและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ประวัติของสารเคมี – โพลียูรีเทน โพลียูรีเทน (Polyurethane) ค้นพบครั้งแรกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนำไปใช้ทดแทนยางตามธรรมชาติ (ยางพารา) ใช้ในการผลิตกระดาษ การผลิตก๊าซมัสตาร์ด ผ้าที่มีความทนทาน เคลือบผิวเครื่องบิน เคลือบโลหะ ไม้ และอิฐ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนและสารเคมี โพลียูรีเทนผลิตจากปฏิกิริยาของโพลีออลกับไดไอโซไซยาเนตหรือโพลีเมอริก ไอโซไซยาเนต โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม โพลียูรีเทนส่วนใหญ่เป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมเซ็ต คือ ไม่สามารถหลอมเหลวและขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งผลิตออกมาหลายรูปแบบได้แก่ เป็นโฟมยืดหยุ่น โฟมแข็ง สารเคลือบป้องกันสารเคมี กาว สารผนึก และอีลาสโตเมอร์ แหล่งที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Polyurethane