Trajan’s Column

Posted in : ประติมากรรม on by : Webmaster Comments: 0

Trajan’s Column


คอลัมน์ทราจันหรือ COLYMNA TRAINI ในภาษาลาตินนั้นคืออนุสาวรีย์ระลึกถึงชัยชนะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิทราจันแห่งอาณาจักรโรมันที่เป็นผู้ครอบครองชัยชนะในสงครามดาเชียน คาดเดากันว่าอนุสาวรีย์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นภายใต้การดูแลของสถาปนิกนามอพอลโลโดรัสแห่งดามาสคัสตามคำสั่งของวุฒิสภาโรมัน คอลัมน์ทราจันนี้ตั้งอยู่ในทราจันฟอรัมโดยสร้างขึ้นในตำแหน่งใกล้กันกับเนควิรินัล ทางเหนือของโรมันฟอรัม การก่อสร้างตัวของอนุสาวรีย์นั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปีคริสตศักราช 113 โดยคอลัมน์ทราจันนั้นมีชื่อเสียงโดดเด่นในเรื่องรูปแกะรอยนูนต่ำที่ขดเป็นเกลียว ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของมหาสงครามระหว่างกองทัพโรมันกับกองทัพดาเซียนในระหว่างปี 101-102 และปี 105-106 รูปลักษณ์และการออกแบบของคอลัมน์ทราจันนั้นกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการก่อสร้างคอลัมน์ระลึกถึงชัยชนะตามมาอีกหลายต่อหลายชิ้น ทั้งในยุคโบราณและยุคปัจจุบัน

ลักษณะโดยทั่วไป


ตัวคอลัมน์นั้นมีส่วนสูงประมาณสามสิบเมตรหรือเก้าสิบแปดฟุต หากนับรวมตัวฐานเข้าไปด้วยก็จะมีความสูงสนธิสามสิบห้าเมตรหรือหนึ่งร้อยยี่สิบห้าฟุต ส่วนโครงสร้างด้านบนนั้นสร้างขึ้นจากชุดหินอ่อนคาร์ราราที่แต่ละชิ้นหนักราวสามสิบสองตัน โดยตัวคอลัมน์นั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวหนึ่งร้อยเก้าสิบเมตรหรือหกร้อยยี่สิบห้าฟุต ในเหรียญตราโบราณมีการระบุไว้ว่าในเบื้องแรกมีการวางแผนว่าจะจัดวางรูปปั้นของนกหรือเหยี่ยวไว้ด้านบนคอลัมน์ แต่หลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้นรูปปั้นของทราจันก็ถูกนำมาวางไว้ในตำแหน่งที่เห็นในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งคอลัมน์ทราจันนั้นเคยหายสาบสูญไปในยุคกลาง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ปีคริสตศักราช 1587 พระสันตะปาปาซกส์ตุสที่ห้าก็ได้ประทานประดับให้กับยอดบนสุดของคอลัมน์ด้วยรูปหล่อสำริดของนักบุญเปโตรที่ยังคงอยู่มาจนปัจจุบัน

เนื้อเรื่องที่บรรยายไว้บนภาพสลัก


รอยสลักบนตัวคอลัมน์นั้นดำเนินวนเกลียวล้อมรอบตัวหอจากฐานไปจนถึงยอดสุด โดยแต่ละด้านของแผ่นบอกเล่าเรื่องราวนั้นมีขนาดกว้างประมาณหนึ่งเมตรตรงส่วนฐานและกว้างประมาณหนึ่งเมตรสองร้อยเซนติเมตรตรงส่วนยอด รอยสลักนูนต่ำนั้นแสดงถึงภาพชัยชนะทางการทหารสองครั้งที่จักรพรรดิทราจันมีต่อกองทัพดาเซียน โดยส่วนครึ่งล่างนั้นแสดงภาพการประชันเชิงยุทธ์ครั้งแรก และส่วนครึ่งบนนั้นประชันเชิงยุทธ์ครั้งที่สอง




ทั้งสองส่วนถูกแบ่งออกจากกันด้วยภาพบุคลาธิษฐานของชัยชนะที่จารึกลงบนโล่ที่ประดับสองข้างด้วยถ้วยรางวัล อย่างไรก็ดี เรื่องราวที่ดำเนินไปบนรอยสลักนั้นก็ดำเนินอย่างต่อเนื่อง ภาพที่ปรากฏนั้นไม่ได้มีความสมจริงในแง่ที่หมายความถึงลักษณะต้องตรงกับความเป็นจริงเนื่องจากการที่ประติมากรนั้นไม่ได้ใส่ใจเรื่องของภูมิทัศน์มากมายนัก โดยทั่วไปแล้วการนำเสนอภาพจากหลายมุมมองและจากหลากหลายภูมิทัศน์ไว้ในฉากเดียวกันนั้นทำไปเพื่อเผยให้เห็นรายละเอียดที่มากกว่า อย่างเช่นการเปลี่ยนมุมมองเพื่อแสดงภาพของชายที่แอบซุ่มอยู่หลังกำแพง
ฉากที่ถูกสลักไว้นั้นเป็นฉากของกองทัพโรมันเป็นส่วนใหญ่ที่กำลังกระทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทหารและการรบรา อย่างเช่นภาพในขณะที่กำลังเตรียมตัวประจัญบานกับกองทัพดาเซียน หรือในขณะที่กำลังก่อสร้างกำแพงหรือป้อมปราการเพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้าม หรือในขณะที่พลทหารกำลังรอฟังคำกล่าวของจักรพรรดิที่เล่าเรื่องชัยชนะและประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเอง ภาพสลักนั้นเต็มไปด้วยนาวิกโยธิน ทหาร รัฐบุรุษ และบาทหลวง รวมภาพผู้คนทั้งหมดได้ประมาณสองพันห้าร้อยร่าง จึงถือเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับนักประวัติศาสตร์ในยุคสมัยใหม่ที่สนใจทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของการรบและอาวุธยุทโธปกรณ์รวมไปถึงยุทธวิธีกลศึกของจักรวรรดิโรมันและพวกอนารชนคนเถื่อน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *