Author :All posts by Webmaster

Posted in : ประติมากรรม on by : Webmaster Comments: 0

Trajan’s Column คอลัมน์ทราจันหรือ COLYMNA TRAINI ในภาษาลาตินนั้นคืออนุสาวรีย์ระลึกถึงชัยชนะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิทราจันแห่งอาณาจักรโรมันที่เป็นผู้ครอบครองชัยชนะในสงครามดาเชียน คาดเดากันว่าอนุสาวรีย์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นภายใต้การดูแลของสถาปนิกนามอพอลโลโดรัสแห่งดามาสคัสตามคำสั่งของวุฒิสภาโรมัน คอลัมน์ทราจันนี้ตั้งอยู่ในทราจันฟอรัมโดยสร้างขึ้นในตำแหน่งใกล้กันกับเนควิรินัล ทางเหนือของโรมันฟอรัม การก่อสร้างตัวของอนุสาวรีย์นั้นเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปีคริสตศักราช 113 โดยคอลัมน์ทราจันนั้นมีชื่อเสียงโดดเด่นในเรื่องรูปแกะรอยนูนต่ำที่ขดเป็นเกลียว ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของมหาสงครามระหว่างกองทัพโรมันกับกองทัพดาเซียนในระหว่างปี 101-102 และปี 105-106 รูปลักษณ์และการออกแบบของคอลัมน์ทราจันนั้นกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการก่อสร้างคอลัมน์ระลึกถึงชัยชนะตามมาอีกหลายต่อหลายชิ้น ทั้งในยุคโบราณและยุคปัจจุบัน ลักษณะโดยทั่วไป ตัวคอลัมน์นั้นมีส่วนสูงประมาณสามสิบเมตรหรือเก้าสิบแปดฟุต หากนับรวมตัวฐานเข้าไปด้วยก็จะมีความสูงสนธิสามสิบห้าเมตรหรือหนึ่งร้อยยี่สิบห้าฟุต ส่วนโครงสร้างด้านบนนั้นสร้างขึ้นจากชุดหินอ่อนคาร์ราราที่แต่ละชิ้นหนักราวสามสิบสองตัน โดยตัวคอลัมน์นั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวหนึ่งร้อยเก้าสิบเมตรหรือหกร้อยยี่สิบห้าฟุต ในเหรียญตราโบราณมีการระบุไว้ว่าในเบื้องแรกมีการวางแผนว่าจะจัดวางรูปปั้นของนกหรือเหยี่ยวไว้ด้านบนคอลัมน์ แต่หลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้นรูปปั้นของทราจันก็ถูกนำมาวางไว้ในตำแหน่งที่เห็นในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งคอลัมน์ทราจันนั้นเคยหายสาบสูญไปในยุคกลาง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ปีคริสตศักราช 1587 พระสันตะปาปาซกส์ตุสที่ห้าก็ได้ประทานประดับให้กับยอดบนสุดของคอลัมน์ด้วยรูปหล่อสำริดของนักบุญเปโตรที่ยังคงอยู่มาจนปัจจุบัน เนื้อเรื่องที่บรรยายไว้บนภาพสลัก รอยสลักบนตัวคอลัมน์นั้นดำเนินวนเกลียวล้อมรอบตัวหอจากฐานไปจนถึงยอดสุด โดยแต่ละด้านของแผ่นบอกเล่าเรื่องราวนั้นมีขนาดกว้างประมาณหนึ่งเมตรตรงส่วนฐานและกว้างประมาณหนึ่งเมตรสองร้อยเซนติเมตรตรงส่วนยอด รอยสลักนูนต่ำนั้นแสดงถึงภาพชัยชนะทางการทหารสองครั้งที่จักรพรรดิทราจันมีต่อกองทัพดาเซียน โดยส่วนครึ่งล่างนั้นแสดงภาพการประชันเชิงยุทธ์ครั้งแรก และส่วนครึ่งบนนั้นประชันเชิงยุทธ์ครั้งที่สอง ทั้งสองส่วนถูกแบ่งออกจากกันด้วยภาพบุคลาธิษฐานของชัยชนะที่จารึกลงบนโล่ที่ประดับสองข้างด้วยถ้วยรางวัล อย่างไรก็ดี เรื่องราวที่ดำเนินไปบนรอยสลักนั้นก็ดำเนินอย่างต่อเนื่อง ภาพที่ปรากฏนั้นไม่ได้มีความสมจริงในแง่ที่หมายความถึงลักษณะต้องตรงกับความเป็นจริงเนื่องจากการที่ประติมากรนั้นไม่ได้ใส่ใจเรื่องของภูมิทัศน์มากมายนัก โดยทั่วไปแล้วการนำเสนอภาพจากหลายมุมมองและจากหลากหลายภูมิทัศน์ไว้ในฉากเดียวกันนั้นทำไปเพื่อเผยให้เห็นรายละเอียดที่มากกว่า อย่างเช่นการเปลี่ยนมุมมองเพื่อแสดงภาพของชายที่แอบซุ่มอยู่หลังกำแพง ฉากที่ถูกสลักไว้นั้นเป็นฉากของกองทัพโรมันเป็นส่วนใหญ่ที่กำลังกระทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทหารและการรบรา อย่างเช่นภาพในขณะที่กำลังเตรียมตัวประจัญบานกับกองทัพดาเซียน หรือในขณะที่กำลังก่อสร้างกำแพงหรือป้อมปราการเพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้าม หรือในขณะที่พลทหารกำลังรอฟังคำกล่าวของจักรพรรดิที่เล่าเรื่องชัยชนะและประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนเอง ภาพสลักนั้นเต็มไปด้วยนาวิกโยธิน ทหาร รัฐบุรุษ และบาทหลวง รวมภาพผู้คนทั้งหมดได้ประมาณสองพันห้าร้อยร่าง จึงถือเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับนักประวัติศาสตร์ในยุคสมัยใหม่ที่สนใจทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของการรบและอาวุธยุทโธปกรณ์รวมไปถึงยุทธวิธีกลศึกของจักรวรรดิโรมันและพวกอนารชนคนเถื่อน

Posted in : ประติมากรรม on by : Webmaster Comments: 0

Roman Sculpture การศึกษาเรื่องราวของประติมากรรมโรมันนั้นมีความซับซ้อนเนื่องมาจากความสัมพันธ์ที่ประติมากรรมสกุลนี้มีต่อสกุลประติมากรรมกรีกโบราณ ตัวอย่างของประติมากรรมหลายต่อหลายชิ้นของประติมากรรมกรีกโบราณที่โด่งดัง อย่างเช่น อพลอลโล แห่งเบลเวเดเรและนั้นฟอนแห่งบาร์เบรินีนั้นเป็นที่รู้จักกันได้ผ่านตัวลอกเลียนโดยช่างในจักรวรรดิโรมันหรือเรียกกันว่าเป็นตัวเลียนแบบเฮเลนิสติค จนครั้งหนึ่ง บรรดานักประวัติศาสตร์ศิลปะและนักวิจารณ์ได้ถือกันว่าการสร้างงานด้วยการลอกเลียนแบบของช่างโรมันนี้แสดงให้เห็นความคับแคบทางจินตนาการในเชิงศิลปะ แต่ในปลายศตวรรษที่นี่สิบนั้น ศิลปะโรมันก็ได้เริ่มถูกค้นพบในฐานะที่เป็นผลงานของโรมันเอง จนนำไปสู่ข้อเสนอประการหนึ่งที่ว่าประติมากรรมกรีกโบราณนั้นโดยแท้จริงแล้วอาจได้รับอิทธิพลมาจากงานช่างศิลป์โรมัน ความโดดเด่นของศิลปะโรมัน จุดแข็งที่เป็นข้อโดดเด่นของประติมากรรมโรมันอยู่ที่การสร้างงานเสมือนตัวจริง เนื่องจากช่างปั้นชาวโรมันนั้นไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องของอุดมคติอันสมบูรณ์แบบแบบที่ช่างชาวกรีกหรือช่างชาวอียิปต์เน้น ผลประติมากรรมที่ได้จึงแสดงออกถึงบุคลิกลักษณะต้นแบบของงานชิ้นนั้นๆ รวมไปถึงเรื่องราวที่เล่าผ่านฉากแกะนูนต่ำด้วย ตัวอย่างผลงานประติมากรรมโรมันนั้นถูกเก็บรักษาไว้เป็นจำนวนมากตรงกันข้ามเป็นอย่างยิ่งกับภาพเขียนสมัยโรมันที่แม้จะมีการเขียนไว้จำนวนมากแต่ก็สูญหายไปจนเกือบหมด ผู้ประพันธ์ในภาษาโรมันหรือภาษากรีกนั้นต่างได้บรรยายถึงรูปปั้นจนสามารถนำบทบรรยายบางชิ้นในผลงานเหล่านั้นมาเทียบเคียงกับประติมากรรมโรมันที่ถูกกล่าวถึงได้ ผู้ประพันธ์คนสำคัญที่มีงานในลักษณะดังกล่าวนั้นคือพลินี เดอะ เอลเดอร์ที่เขียนบทพรรณนาไว้ในเล่มที่สามสิบสี่ของหนังสือชื่อ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ของเขา แต่ถึงผลงานประติมากรรมโรมันจะยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนมาก แต่ผลงานประติมากรรมเหล่านั้นก็มักจะชำรุดเสียหายหรือเป็นเพียงชิ้นส่วนไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ความเป็นมาและแนวคิด ในช่วงแรกเริ่มนั้น ประติมากรรมโรมันได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกรีกและอีทรัสกันที่ในกรณีของตนเองนั้นก็ได้รับอิทธิพลจากกรีกผ่านทางพ่อค้าที่เดินทางไปมา และเมื่อจักรวรรดิโรมันสามารถยึดครองดินแดนของกรีกโบราณได้มากขึ้นเรื่อย ตัวประติมากรรมโรมันก็ยิ่งมีความเป็นเฮเลนนิสติกมากขึ้นเช่นกัน จนทำให้งานประติมากรรมในสไตล์กรีกยุ่งเจริญรุ่งเรืองที่สุดนั้นหลงเหลือมายังยุคปัจจุบันได้เพราะตัวผลงานลอกเลียนในประติมากรรมโรมันนั่นเอง ในช่วงศตวรรษที่สองก่อนคริสตกาลนั้น เหล่าประติมากรที่ทำงานอยู่ในโรมันโดยส่วนใหญ่เป็นชาวกรีกและผลงานประติมากรรมกรีกโบราณก็ถูกขนย้ายเข้ามาที่จักรวรรดิไม่ว่าจะผ่านทางการค้าขายหรือเป็นค่าปฏิกรรมสงคราม โดยงานประติมากรรมโรมันนั้นมีข้อแตกต่างจากผลงานของพวกกรีกตรงที่จะไม่ได้เป็นผลงานที่ทำขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของปวงเทพต่างๆ ในเทพปกรณัมเพื่อเคารพบูชาแบบของกรีก แต่จะเน้นการปั้นรูปหล่อและการแกะสลักรอยนูนบอกเล่าเรื่องราวของกษัตริย์หรือวีรชนและตำนานทางประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิมากกว่า งานปั้นโรมันที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก (หรือที่เรียกกันว่าสไคล์เกรโก-โรมัน) นั้นจะมีความแข็งแรงและอ่อนช้อยเคลื่อนไหวในเวลาเดียวกัน แต่เมื่อมาถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่สาม ผลงานประติมากรรมโรมันก็เปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยที่นักประวัติศาสตร์ศิลปะในปัจจุบันยังไม่สามารถให้คำอธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ประติมากรรมโรมันเปลี่ยนเป็นงานที่เน้นหนักไปที่ความแข็ง, ความหนักแน่น และอาการขมวดเกร็ง กล่าวได้อีกอย่างว่าเป็นการปฏิเสธธรรมเนียมประติมากรรมโรมันคลาสสิคโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้มีเกร็ดประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจคือ ความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในธรรมเนียมผลงานประติมากรรมโรมันนั้นเกิดขึ้นก่อนที่จักรวรรดิโรมันและชาวโรมันโดยส่วนใหญ่จะรับศาสนาคริสต์เป็นศาสนาหลักไม่นาน และเหตุการณ์สำคัญนี้ก็นำไปสู่การละทิ้งการสร้างสรรค์ประติมากรรมทางศาสนาของลัทธิความเชื่ออื่นๆ ที่เคยทำกันมาโดยทั่วไป เหลือเพียงการสร้างประติมากรรมของวีรบุรุษหรือจักรพรรดิโรมันเท่านั้น

Posted in : สถาปัตยกรรม on by : Webmaster Comments: 0

Roman Aqueduct ในยุคสมัยจักรวรรดิโรมันที่อุดมไปด้วยสิ่งสนองความต้องการและอ่างอาบน้ำสาธารณะ ชาวโรมันได้ก่อสร้างทางส่งน้ำของโรมันไว้จำนวนมหาศาลเพื่อที่จะได้สามารถนำเอาน้ำจากแหล่งที่มาที่อยู่ห่างไกลออกมาเข้ามาสู่นครและเมืองที่ตนเองอาศัยอยู่ได้ และนำมาใช้สำรองสำหรับอ่างอาบน้ำสาธารณะ สุขา น้ำพุ และเพื่อใช้สอยส่วนตัวในครัวเรือน ในส่วนของน้ำเสียนั้นก็จะถูกถ่ายเทออกไปด้วยระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ซับซ้อนและปล่อยทิ้งในสถานที่ที่มีน้ำที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง เพื่อรักษาให้ตัวเมืองยังคงความสะอาดและสุขลักษณะอนามัยปลอดเชื้อโรคระบาดเอาไว้ ทางส่งน้ำของโรมันนั้นยังถูกใช้เพื่อแจกจ่ายน้ำให้กับการขุดเจาะ การโม่หิน การทำไร่และการทำสวนอีกด้วย กลไกการทำงานของทางส่งน้ำ ทางส่งน้ำของโรมันเหล่านี้นั้นเคลื่อนน้ำไปด้วยแรงของแรงโน้มถ่วงเพียงอย่างเดียว โดยส่วนลำตัวของมันนั้นถูกสร้างขึ้นโดยให้ทำมุมเอียงเล็กน้อยภายในท่อน้ำที่สร้างขึ้นจากหิน อิฐ หรือปูนคอนกรีต ส่วนใหญ่แล้วทางส่งน้ำของโรมันจะถูกฝังอยู่ในชั้นใต้ดินซึ่งดำเนินต่อไปตามรูปทรงของทางส่งน้ำแต่ละส่วน โดยส่วนของทางส่งน้ำของโรมันที่ล้นเกินออกมาจะถูกทำคอกล้อมหรือขุดเป็นถ้าลอดผ่าน (ซึ่งไม่พบว่าทำเช่นนี้กันบ่อยนัก) ในส่วนที่หุบเขาหรือที่ลุ่มเข้ามากั้นขวางทางเดินของทางส่งน้ำนั้นก็จะมีการสร้างสะพานให้ทางส่งน้ำหรือไม่ก็เพิ่มแรงดันน้ำด้วยการใช้วัสดุก่อสร้างทางส่งน้ำที่มีคุณสมบัติต้านแรงน้ำน้อยกว่าที่ใช้ปกติอย่างท่อเซรามิกหรือท่อหิน ทางส่งน้ำของโรมันโดยส่วนใหญ่จะมีถังกักเก็บติดตั้งในแต่ละตำแหน่งเพื่อทำหน้าที่จัดการหรือสำรองยามเมื่อมีความต้องการหรือเกิดเหตุจำเป็นเร่งด่วน ประวัติความเป็นมาและต้นกำเนิด ทางส่งน้ำที่ถูกใช้ครั้งแรกสุดในจักรวรรดิโรมันนั้นถูกใช้เพื่อสำรองน้ำให้กับน้ำพุที่ถูกติดตั้งไว้ในย่านการค้าหรือตลาดวัวของนคร ในคริสต์ศตวรรษที่สาม ตัวนครนั้นก็มีทางส่งน้ำนับได้จำนวนสิบสามแห่งที่ทำหน้าที่ส่งน้ำและรองรับชีวิตของผู้คนในตัวนครจำนวนนับล้านคนและมีส่วนในความเจริญทางเศรษฐกิจน้ำอีกด้วย โดยน้ำที่ทางส่งน้ำได้ส่งเข้าสู่เมืองโดยส่วนใหญ่นั้นเป็นน้ำที่ถูกส่งไปยังอ่างอาบน้ำสาธารณะของโรมันนั่นเอง นครเมืองต่างๆ และหน่วยเทศบาลเมืองต่างๆ ทั่วทั้งอาณาจักรโรมันต่างก็ลอกเลียนเอาวิธีส่งจ่ายน้ำดังกล่าวนี้ไปใช้ในเมืองของตนเอง โดยต่างมอบเงินสนับสนุนให้กับทางส่งน้ำในฐานะสิ่งที่นำไปสู่ผลประโยชน์ของสาธารณชนโดยรวมและเป็นสิ่งที่แสดงถึงความภาคภูมิในฐานะความเป็นคนเมือง (หรือ civic) ที่ต่างจากคนที่อาศัยอยู่ในป่าเขาหรือร่อนเร่พเนจร ทางส่งน้ำของโรมันโดยส่วนใหญ่นั้นเป็นทางส่งน้ำที่ใช้งานได้จริงและมีความคงทน ทางส่งน้ำของโรมันบางแห่งยังคงถูกบำรุงรักษาและดำรงอยู่มาจนถึงยุคสมัยใหม่ โดยที่ทางส่งน้ำของโรมันบางส่วนยังถูกใช้งานเหมือนเช่นในอดีตเช่นกัน วิธีการและแนวคิดในการคิดค้น, ทดลอง และก่อสร้างทางส่งน้ำของโรมันนั้นถูกบันทึกไว้โดยวิตรูเวียสผู้เป็นทั้งนักเขียนและสถาปนิกชาวโรมันในหนังสือชื่อ เดอ อาร์คิเทคทูรา หรือ ว่าด้วยสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตีพิมพ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่หนึ่ง ผู้ที่ดำรงตำแหน่งนายพลอย่างฟรอนตินุสก็ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับทางส่งน้ำของโรมัน ไว้มากกว่าวิตรูเวียสในรายงานส่งทางการของเขาที่ว่าด้วยปัญหาขัดข้อง การใช้งานและการใช้อย่างมิชอบต่อการขนส่งน้ำสาธารณะในอาณาจักรโรมัน ระบบและทางส่งน้ำของโรมันที่โดดเด่นนั้นได้แก่ทางส่งน้ำของเซโกเวียและทางส่งน้ำของคอนสแตนติโนเปิล

Posted in : สถาปัตยกรรม on by : Webmaster Comments: 0

Pier ตอม่อ หรือเสาค้ำมีความหมายในทางสถาปัตยกรรมคือหมายถึงส่วนรองรับน้ำหนักโดยตรงจากโครงสร้างหรือโครงสร้างส่วนบน อย่างเช่นซุ้มโค้งหรือตัวสะพาน ทั้งนี้ เรายังกล่าวได้ว่าส่วนของกำแพงในโครงสร้างที่มีตำแหน่งอยู่ตรงกลางระหว่างส่วนเปิดหรือเวิ้งสองข้างก็ถือว่าสามารถทำหน้าที่ในฐานะเดียวกับตอม่อหรือเสาค้ำได้เช่นกันแม้จะไม่ได้มีรูปร่างแบบเดียวกัน ลักษณะโดยทั่วไปของตอม่อ โดยทั่วไปแล้ว ครอสเซคชันของตอม่อหรือเสาค้ำนั้นจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือในบางกรณีอาจเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ทั้งนี้ก็สามรถมีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตอื่นๆ ก็เป็นได้เช่นกันตามแต่ความเหมาะสมของโครงสร้างและแบบร่างที่วางไว้รวมไปถึงสภาพแวดล้อมและความผกผันหรือแรงกระทำใดๆ ที่ตัวสิ่งปลูกสร้างอาจจะต้องเผชิญ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมของยุคกลางในทวีปยุโรปนั้น ส่วนสำหรับค้ำยันเป็นวงรอบที่ถูกเรียกว่าตอม่อหรือเสาค้ำแบบกลอง รวมไปถึง ตอม่อหรือเสาค้ำรูปกางเขน และตอม่อหรือเสาค้ำประสานนั้นต่างก็ถือเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมโดยพื้นฐานของการสร้างสิ่งปลูกสร้างในสมัยนั้น เสาในความหมายทั่วไปนั้นก็ถือเป็นส่วนค้ำยันแบบตั้งตรงเช่นเดียวกันกับตอม่อหรือเสาค้ำ หากแต่เสาจะอยู่ตรงฐานรอบไม่ได้ฝังตัวหรือรองรับแรงกดมากเท่ากับตอม่อหรือเสาค้ำ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีเฉพาะของโครงสร้างแต่ละแบบ ในสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นเวิ้งระหว่างเสาต่อเนื่อง ส่วนที่เป็นช่องเวิ้งนั้นที่อาจเป็นส่วนหน้าต่างหรือประตูนั้นถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนึ่งเวิ้ง หลักการสร้างและการทำงานของตอม่อ ในกรณีของสะพานตอนเดียวจะมีเครื่องรองรับน้ำหนักตรงส่วนปลายของแต่ละฝั่ง และเครื่องรองรับน้ำหนักที่ว่านี้ก็ต่างทำหน้าที่เป็นกำแพงค้ำยันและกั้นแรงดันแนวขวางของการเคลื่อนของผิวดินในแนวขวางของสะพานแต่ละด้านไปพร้อมๆ กันด้วย ส่วนในกรณีของสะพานหลายตอนนั้นก็จะต้องมีการสร้างตอม่อหรือเสาค้ำไว้ตรงจุดปลายของแต่ละตอนตรงช่องว่างระหว่างเครื่องรับน้ำหนักเหล่านั้น ในสถานที่ที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นนั้น ฝั่งที่อยู่ด้านเหนือน้ำอาจจะต้องมีสันปันน้ำเพื่อป้องกันการสะสมของน้ำแข็งที่แตกระแหงโดยจะมีการทำให้ตัวสันปันน้ำนั้นมีด้านแหลมเพื่อกระจายชิ้นส่วนของตัวน้ำแข็งออก โดยทั่วไปแล้วในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น สันปันน้ำจะถูกติดตั้งให้ยกเอียงที่สี่สิบห้าองศาเพื่อกระจายแรงต้านที่เกิดจากการประทะระหว่างกระแสน้ำและตัวน้ำแข็งให้เปลี่ยนจากแนวนอนเป็นแนวขวางเพื่อให้นำแข็งแตกกระจายตัวออกก่อนจะลอยไปยังตอม่อหรือเสาค้ำของสะพานอีกฟากได้ ในประตูชัยที่ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศสนั้น ซุ้มโค้งตรงส่วนกลางและซุ้มด้านข้างนั้นวางอยู่บนตอม่อหรือเสาค้ำขนาดใหญ่บนแผ่นดิน ส่วนอีกกรณีหนึ่งคือ ในแบบแปลนที่วาดโดยนาโต บราเมนเตเพื่อใช้สำหรับก่อสร้างมหาวิหารนักบุญเปโตรในโรมนั้นก็มีตอม่อหรือเสาค้ำที่ระบุรายละเอียดต่างๆ ไว้อย่างรุ่มรวย หลังคาโค้งที่ตอม่อหรือเสาค้ำเหล่านี้ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักนั้นวางตัวซ้อนกันสองชั้น ซึ่งถือเป็นแนวทางการนำเสนอแบบร่างทางสถาปัตยกรรมโดยทั่วไป ตอม่อหรือเสาค้ำจำนวนสี่เสาทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของโครงสร้างของตัวโดมที่วางพาดอยู่ตรงกลาง ตอม่อหรือเสาค้ำเหล่านี้ดูมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะรองรับหรือค้ำยันน้ำหนักจากโครงสร้างส่วนบนไหวและได้รับการเปลี่ยนแปลงในภายหลังโดยมิเกลันเจโลเพื่อให้พวกมันสามารถรองรับน้ำหนักอันมหาศาลของตัวโครงสร้างของโดมได้ ตอม่อหรือเสาค้ำของมุขโค้งด้านสกัดหรือ apses ที่ปรากฏอยู่บนด้านหน้าของกำแพงแต่ละด้านนั้นก็มีความแข็งแรงทนทานอย่างยิ่งเช่นกัน เพื่อที่จะสามารถรองรับแรงกดดันภายนอกจากโครงสร้างของตัวโดมครึ่งหนึ่งที่กระทำลงบนตัวของมัน

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Physiognomy ฟิสิโอโนมีนั้นเป็นการเสนอว่าลักษณะหรือบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลนั้นสามารถอ่านได้จากภาพลักษณ์ภายนอกของบุคคลนั้นๆ โดยเฉพาะใบหน้า คำๆ นี้เป็นการผสมคำจากภาษากรีกโบราณสองคำคือ physis ที่หมายความว่าธรรมชาติ กับ gnomon ที่หมายถึงการตีความหรือการตัดสิน นอกจากนั้นแล้ว คำว่า Physiognomy นั้นยังสามารถใช้ในความหมายถึงลักษณะภายนอกโดยรวมทั้งหมดของบุคคล ของวัตถุ ของอาณาเขต โดยที่ไม่ต้องมีนัยความหมายถึงเรื่องลักบุคลิกภาพหรือลักษณะของสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นแต่อย่างด อย่างเช่นการกล่าวถึงฟิสิโอโนมีของกลุ่มพืชพันธุ์ ประวัติความเป็นมา ความน่าเชื่อถือของวิธีการศึกษาฟิสิโอโนมีนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคแต่ละสมัย ในยุคกรีกโบราณนั้น ฟิสิโอโนมีได้รับการยอมรับและได้รับการนำไปประยุกต์ใช้โดยพวกนักปรัชญากรีกโบราณทั้งหลาย แต่ฟิสิโอโนมีนั้นกลับไม่ได้รีบความเชื่อถืออย่างสิ้นเชิงในยุคกลางเนื่องจากผู้ทีใช้องค์ความรู้นี้นั้นเป็นพวกคนพเนจรและพวกนักต้มตุ๋น ต่อมา Physiognomy ก็ถูกฟื้นฟูกลับมาใช้โดกวีชาวสวิสที่ชื่อโยฮันน์ กัสปาร์ ลาวาเตร์ในศตวรรษที่สิบแปดจนได้รับความนิยมกันโดยทั่วไปก่อนที่จะเสื่อมความน่าเชื่อถือไปอีกครั้งตอนปลายศตวรรษที่สิบเก้า ฟิสิโอโนมีในความหมายที่เข้าใจกันในอดีตนั้นมีคุณสมบัติต้องตรงกันกับนิยามของศาสตร์ปลอมหรือ pseudoscience นั่นเอง ไม่มีหลักฐานที่สามารถระบุยืนยันได้อย่างแน่ชัดว่าฟิสิโอโนมีนั้นทำงานอย่างไร แม้ว่าจะมีการศึกษาในยุคปัจจุบันไม่นานมานี้ได้สร้างข้อเสนอว่าในการแสดงออกทางสีหน้านั้นมีบางแง่มุมของความจริงเกี่ยวกับบุคลิกภาพทั้งหมดของบุคคลอยู่ นอกจากนี้ ฟิสิโอโนมียังสามารถถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่าแอนโทรสโคปีในบางครั้ง แม้ว่าคำหลังนั้นจะใช้กันมากกว่าในศตวรรษที่สิบเก้าซึ่งเป็นยุคสมัยที่คำๆ นี้กำเนิดขึ้นก็ตาม ข้อวิจารณ์และกระแสตอบรับ แม้ลาวาเตร์จะเป็นผู้ที่นำ Physiognomy กลับมาสู่การรับรู้ของสาธารณะในศตวรรษที่สิบแปดอีกครั้ง แต่เขาก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อยไปกว่ากันจากบรรดานักวิทยาศาสตร์, นักเขียนและผู้ทำงานทางด้านความคิดทั้งหลายในยุคนั้น ผู้ที่ออกมาวิจารณ์ลาวาเตร์และฟิสิโอโนมีอย่างรุนแรงคนหนึ่งคือนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันที่ชื่อ เกออร์ก คริสตอฟ ลิกห์เตนเบิร์ก ที่ได้กล่าวไว้ว่าหากเทียบเคียงกันแล้ว พาโธโนมี (pathognomy) หรือการค้นพบบุคลิกลักษะผ่านทางการสังเกตพฤติกรรมนั้นมีความน่าเชื่อถือมากกว่าฟิสิโอโนมีและยังให้ผลที่จับต้องได้มากกว่าด้วย แต่ทั้งนี้ในศตวรรษที่สิบเก้าเอง ฟิสิโอโนมีก็ยังคงถูกนำกลับมาใช้ในทางวรรณคดีงานเขียนผ่านการสร้างหรือบรรยายตัวละคร โดยพวกนักเขียนนวนิยายในยุคนั้นต่างก็เน้นเรื่องความสมจริงด้วยการบรรยายทุกสิ่งที่มีบทบาทในเรื่องราวอย่างละเอียดยิบย่อย จึงเป็นเหตุผลหนึ่งในการกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งของฟิสิโอโนมี..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Persian Gardens ธรรมเนียมและสไตล์ในการตกแต่งและออกแบบสวนเปอร์เซียหรือที่เรียกกันอีกอย่างว่าสวนอิหร่านในประเทศอิหร่านนั้นส่งอิทธิพลต่อวิธีและแนวทางในการออกแบบตกแต่งสวนจากตั้งแต่อันดาลูเซียมาจนถึงอินเดียและประเทศอื่นๆ ใกล้เคียง ในสวนแต่งหลายแห่งที่ตั้งอยู่ที่อัลฮามบราก็ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของปรัชญาและแนวคิดรวมไปถึงสไตล์ในธรรมเนียมการสร้างสวนเปอร์เซีย โดยการตีความที่ว่านี้ปรากฏออกมาในขนาดของพระราชวังแบบแขกมัวร์ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยของอัล-อันดาลัสในสเปน ส่วนสุสานของฮูมายันและทัชมาฮาลนั้นก็ถือว่าเป็นการตีความแนวคิดและธรรมเนียมในการสร้างสวนเปอร์เซียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอันหนึ่งของโลก ซึ่งต่างก็ถูกสร้างไว้ตั้งแต่ยุคสมัยของอาณาจักรโมกุลในอินเดียจวบจนปัจจุบัน ต้นกำเนิดและแนวคิดของการจัดสวนสไตล์เปอร์เซีย นับตั้งแต่ยุคสมัยของราชวงศ์อคาเอเมนิด แนวคิดเรื่องสรวงสวรรค์บนโลกนั้นได้แพร่กระจายไปหลายดินแดนและปรากฏผ่านออกมาในงานวรรณคดีของเปอร์เซีย และยังรวมไปถึงตัวอย่างอื่นๆ ที่มีที่มาจากวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วย ตัวอย่างในแบบหลังนั้นคือสวนแบบเฮเลนนิสติกที่เซลิวคิดส์และปโตเลมีส์ในอเล็กซานเดรีย คำว่า pairidaēza ในภาษาอเวสตะนั้นเป็นคำยืมมาจากภาษากรีกโบราณ παράδεισος (พาราเดซอส) ที่ได้กลายมาเป็นคำว่า paradisus ในภาษาลาตินและกลายเป็นคำหนึ่งในภาษาภาคพื้นทวีปยุโรปอย่างเช่น paradis ในภาษาฝรั่งเศส paradies ในภาษาเยอรมัน และ paradise ในภาษาอังกฤษ คำดังกล่าวนี้ได้เข้าไปอยู่ในตระกูลภาษาเซมิติกด้วยเช่นกัน นั่นคือคำว่า pardesu ในภาษาอัคคาเดียน คำว่า pardes ในภาษาฮีบรู และคำว่า firdaws ในภาษาอาหรับ ดังความหมายที่คำๆ นี้สื่อถึง สวนที่ถูกสร้างขึ้นจึงมีลักษณะปิดล้อม โดยเป้าหมายของสวนนั้นคือการสร้างสถานที่ที่อำนวยและเอื้อให้ผู้คนสามารถพักผ่อนคลายได้อย่างวางใจในความปลอดภัยในอิริยาบถที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นทั้งในทางจิตวิญญาณหรือการใช้เวลาว่าง กล่าวได้ว่าเป็นสรวงสวรรค์บนดินนั่นเอง คำที่หมายถึงสถานที่ที่ล้อมกั้นไว้ในภาษาอิหร่านทั่วไปนั้นคือคำว่า pari-daiza- ซึ่งถูกหยิบยืมไปโดยคริสตศาสนจักรเพื่อนำไปใช้อธิบายลักษณะของสวนแห่งอีเดนหรือสรวงสวรรค์บนโลกมนุษย์ การก่อสร้างสวนนั้นอาจเน้นไปที่รูปแบบทางการที่ให้ความสำคัญกับโครงสร้าง หรือเน้นไปที่ความหย่อนใจโดยให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมชาติ โดยสร้างขึ้นตามกฎการออกแบบพื้นฐานหลากหลายประการ สวนเปอร์เซียนั้นอาจเกิดขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ 4000 ปีก่อนคริสตกาล..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Oikos Oikos หรือ οἶκος เป็นภาษากรีกโบราณที่มีความหมายเท่ากับบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย หรือครอบครัว โดย oikos นั้นเป็นหน่วยย่อยที่สุดของสังคมในนครรัฐในยุคกรีกโบราณโดยทั่วไป ที่นับรวมไปถึงหัวหน้าของมัน (ที่มักจะเป็นผู้ชายสูงวัย) ครอบครัวใกล้ชิดของเขา (ภรรยาและบุตร) และข้าทาสบริวารที่อาศัยอยู่ด้วยกันในสถานที่หนึ่ง Oikos ขนาดใหญ่จะมีไร่สวนที่ดูแลรักษาโดยแรงงานทาสที่ก็ถือว่าเป็นหน่วยย่อยทางเกษตรกรรมขนาดเล็กที่สุดของอารยธรรมโบราณ Oikos ในอารยธรรมกรีกโบราณ Oikos ในอารยธรรมกรีกโบราณนั้นมีความหมายแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับ domus ของอาณาจักรโรมันตรงที่การวางแปลนทางสถาปัตยกรรม ถึงแม้กรีกจะเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันมาเป็นเวลายาวนานแล้วก็ตาม โดยเรือนแบบของกรีกนั้นจะถูกสร้างรอบๆ ระเบียงคดที่ราดปูเรียบและมีพื้นที่ที่แบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างของผู้หญิงและของผู้ชาย ส่วนแรกสุดของเรือนพักจะประกอบด้วย gynaikonitis (หมายถึงเฉลียงของสตรี) หรือระเบียงคด, ตัวเรือน oikos เอง, ส่วนกลางที่ใช้ทำกิจกรรมภายในครัว และส่วนบนของเรือน โดยในส่วนหลังสุดนี้จะเป็นพื้นที่ของห้องนอนต่างๆ และห้องรับประทานอาหาร ในส่วนที่สองของเรือนหรือที่เรียกว่า andronitis นั้นจะเป็นที่ที่ผู้ชายภายในบ้านใช้ทำกิจกรรมต่างๆ นอกจากนั้นก็ยังมีห้องรับประทานอาหาร, ห้องรับแขก และห้องสมุดอีกด้วย ลักษณะครอบครัวของชาวกรีกโบราณ ส่วนครอบครัวที่อาศัยอยู่ใน Oikos นั้นจะประกอบไปด้วยผู้ชายที่คนหนึ่งจะมีบทบาทเป็น kyrios หรือนายใหญ่ของบ้าน โดยเขาจะมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้จัดการเกี่ยวกับและเป็นตัวแทนประโยชน์ของ Oikos ของตนเองต่อหน้าสาธารณชนในวงกว้างหรือ polis และยังมีหน้าที่ให้การปกป้องคุ้มครองด้านกฎหมายแก่เหล่าสตรีและเด็กที่อยู่รวมเรือนหรือใน Oikos..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

ในเทพปกรณัมกรีกโบราณ เหล่านิโอบิดส์คือบุตรและบุครธิดาของแอมฟิออนแห่งเมืองธีบส์กับนิโอบี นิโอบิดส์ทั้งหมดถูกสังหารล้างบางโดยอพอลโลและอาร์เทมีสเนื่องจากนิโอบีที่มีฐานะเป็นบุตรธิดาของราชสกุลแห่งฟรีเจียได้เคยอวดอุตริเปรียบเทียบจำนวนของบุตรและบุตรธิดาที่มีอยู่มากของตนเองกับจำนวนทายาทของเลโต ผู้เป็นมารดาของอพอลโลและอาร์เทมิส เหตุการณ์ของนิโอบีและนิโอบิดส์นี้ได้กลายเป็นตัวอย่างที่มักถูกยกมาอ้างอิงบ่อยครั้งเมื่อพูดถึงความผยองจองหอง (hubris) งานเขียนเกี่ยวกับนิโอบิดส์ จำนวนของนิโอบิดส์ทั้งหมดมักถูกกล่าวบรรยายไว้ว่ามีสิบสอง (โฮเมอร์) ถึงสิบสี่คนคน (ยูริพีดีสและอพอลโลโดรัสกำมะลอ) แต่ในบางแหล่งก็กล่าวว่ามีถึงยี่สิบคน, สี่คน (เฮโรโดตุส) หรือสิบแปดคน (แซฟโฟ) โดยทั่วไปแล้ว เด็กเหล่านี้ครึ่งหนึ่งมีเพศเป็นชายอีกครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง ชื่อของบางคนถูกกล่าวถึงไว้ดังนี้แบ่งตามผู้เขียนแต่ละคร -บิบลิโอเธกา: อเกนอร์, แอสติเครเทีย, แอสติโอเค, เครโอดอกซา, ดามาซิคธอน, ยูพินีตัส, อิสเมนุส, เนอาเอรา, โอกีเจีย, เพโลเปีย, แฟดิมุส, ฟิเธีย, ฟิโลมาเค, ซิพีลุส, แทนทาลัส -ไฮจีนุส: อาร์เคนอร์, แอสติเครเทีย, แอสติโนเม, คิอาส, คลอริส, เครโอดอกซา, ดามาซิคธอน, ยูดอกซา, ยูพินีตัส, อิสเมนุส, เนอาเอรา, โอกีเจีย, แฟดิมัส, ฟิเธีย, ซิพีลุส, แทนทาลัส, เธรา -โอวิด: อัลเฟนอร์,..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Landscape Ecology: นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ นิเวศวิทยาภูมิทัศน์เป็นศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางนิเวศวิทยาในสิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ ศาสตร์สาขานี้ศึกษาตั้งแต่ภูมิทัศน์ในขนาดหลากหลาย รวมทั้งรูปแบบการพัฒนาในด้านพื้นที่ ไปจนถึงการศึกษาในระดับการจัดการองค์กรของทั้งการวิจัยและนโยบาย ด้วยความที่เป็นการศึกษาที่มีความเป็นสาขาวิชาซึ่งจัดอยู่ใน systems science นิเวศวิทยาภูมิทัศน์นั้นได้ผนวกรวมเอาทั้งแนวทางการศึกษาเชิงชีวะกายภาพและเชิงวิเคราะห์เข้ากับแนวทางการมองแบบมนุษย์นิยมและองค์รวมที่ข้ามไปยังพื้นที่ของทั้งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสังคมศาสตร์ ภูมิทัศน์นั้นเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายในทางภูมิศาสตร์ ซึ่งประกอบขึ้นด้วยแผ่นเปลือกโลกหรือระบบนิเวศที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในหลากรูปแบบ โดยต่างมีทั้งอาณาเขตที่คงความเป็นธรรมชาติและระบบน้ำไว้เช่นป่า, ทุ่งหญ้า และทะเลสาบไปจนถึงสภาพแวดล้อมที่มีมนุษย์อยู่อาศัยอย่างพื้นที่ทางการเกษตรหรือเมือง ลักษณะสำคัญของนิเวศวิทยาภูมิทัศน์คือเป็นการศึกษาที่เน้นไปยังความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผน, กระบวนการ, และขนาดหรืออัตราส่วน รวมไปถึงการเน้นไปยังประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง การเน้นประเด็นเหล่านี้ทำให้การผนวกรวมชีวะกายภาพกับเศรษฐศาสตร์สังคมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ประเด็นวิจัยสำคัญในนิเวศภูมิทัศน์นั้นได้แก่การเคลื่อนในทางนิเวศวิทยาในลวดลายทางภูมิทัศน์, การใช้แผ่นดินและความเปลี่ยนแปลงในการถมของแผ่นดิน, การวัดอัตราส่วน, การวิเคราะห์แบบแผนทางภูมิทัศน์ด้วยกระบวนการทางนิเวศวิทยา และการอนุรักษ์ภูมิทัศน์และการรักษาให้ยั่งยืน ความเป็นมา ในภาษาเยอรมัน Landschaftsökologie ที่หมายถึงนิเวศวิทยาภูมิทัศน์นั้นถูกเสนอไว้โดยคาร์ล ทรอลล์ นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมนีในปี 1939 ทรอลล์นั้นยังเป็นผู้ที่ได้ริเริ่มและพัฒนามโนทัศน์และเทอมคำเรียกต่างๆ ในนิเวศวิทยาภูมิทัศน์ไว้ในผลงานชิ้นแรกๆ ของเขาที่มีการนำการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศมาประยุกต์เข้ากับการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและการขยายพันธุ์พืช ประวัติความเป็นมาของนิเวศภูมิทัศน์นั้นเริ่มต้นจากผลงานชื่อ ทฤษฏีว่าด้วยชีวภูมิศาสต์ของเกาะ ซึ่งเขียนโดยแมคอาเธอร์และวิลสัน ผลงานชิ้นนี้เสนอว่าความหลากหลายทางชีวภาพของเกาะต่างๆ นั้นเป็นผลมาจากพลังที่เบียดขับกันระหว่างการขยายตัวของสิ่งมีชีวิตจากแผ่นดินใหญ่กับการสูญพันธุ์อย่างเฟ้นสุ่ม มโนทัศน์ว่าด้วยเรื่องชีวภูมิศาสตร์ของเกาะนั้นเป็นผลจากการแปลอย่างรวบยอดให้เกาะในทางกายภาพกลายเป็นแผ่นที่เป็นแหล่งอาศัยด้วยตัวแบบทางอภิประชากรของเลวิน (ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับตัวอย่างเช่นเกาะที่มีป่าในภูมิทัศน์ทางการเกษตร) การสรุปรวบยอดดังกล่าวนี้ทำให้เกิดการขยายตัวของสาขาวิชานิเวศภูมิทัศน์และทำให้นักชีววิทยาอนุรักษ์ได้มีเครื่องมือใหม่ในการทำความเข้าใจว่าการแตกกระจายของแหล่งอาศัยมีผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของประชากรสิ่งมีชีวิตอย่างไร ความก้าวหน้าของนิเวศภูมิทัศน์ในปัจจุบันเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) และข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่เปิดให้เข้าถึงได้มากขึ้น ในขณะที่วิชาภูมิศาสตร์ทั่วไปและสาขาวิชาย่อยนั้นเน้นไปที่การศึกษากลุ่มชุมชนเฉพาะที่มีความเป็นเอกพันธุ์และจัดการตนเองด้วยระบบชั้นสูงต่ำ วิชานิเวศภูมิทัศน์นั้นเกิดขึ้นบนการศึกษาพื้นที่และเวลาที่มีความเป็นพหุพันธุ์ ที่ความเปลี่ยนแปลงในทางภูมิทัศน์นั้นมาจากมนุษย์ทั้งในทางทฤษฏีและในการประยุกต์ใช้คอนเซปต์ต่างๆ กระทั่งในปี 1980 นิเวศภูมิทัศน์นั้นก็ได้กลายเป็นสาขาวิชาหนึ่งเต็มตัว โดยมีหมุดหมายคือการจัดตั้งสมาคมนิเวศภูมิทัศน์นานาชาติหรือ IALE..

Posted in : ทั่วไป on by : Webmaster Comments: 0

Krater คราเตอร์หรือ κρατήρ เป็นคำจากภาษากรีกที่มีความหมายถึงการผสม ในที่นี้มีความหมายถึงภาชนะขนาดใหญ่รูปทรงเหมือนแจกันขนาดยักษ์ที่มีไว้ใช้ผสมไวน์กับน้ำในยุคสมัยของอารยธรรมกรีกโบราณ บทบาทและความสำคัญของคราเตอร์ คราเตอร์จะถูกวางไว้ตรงจุดศูนย์กลางของซิมโพเซียม เนื่องจากขนาดใหญ่โตของมัน คราเตอร์จึงไม่สามารถถูกเคลื่อนย้ายได้เมื่อมันถูกเติมจนเต็ม เพราะฉะนั้นส่วนผสมของไวน์และน้ำเปล่าในคราเตอร์จึงต้องถูกตักออกไปด้วยภาชนะอันอื่น ในโอดิสซีที่ประพันธ์โดยมหากวีโฮเมอร์นั้นก็มีการบรรยายถึงคราเตอร์ว่าไม่ว่าจะในซิมโพเซียมหรือในการชุมนุมร่วมกันอื่นๆ นั้นจะมีบริกรเป็นผู้ตักรินไวน์จากตัวคราเตอร์จากนั้นจึงวิ่งนำไวน์ไปรินให้กับแขกที่มาเข้าร่วมพิธี โดยบริกรก็จะวิ่งไปวิ่งมาระหว่างคราเตอร์กับแขกผู้มีเกียรติตลอดทั้งงาน ในภาษากรีกปัจจุบัน คำว่า krasi ที่หมายถึงไวน์ผสมหรือเจือจางแล้วนั้นมีรากศัพท์มาจากคำว่า krasis ในภาษากรีกโบราณที่หมายถึงการผสมกันระหว่างน้ำและไวน์ในคราเตอร์นั่นเอง ภายในของคราเตอร์นั้นจะถูกขัดไว้จนขึ้นเงาเพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการเก็บของเหลวและชาวกรีกโบราณอาจจะทำเช่นนั้นเพื่อเหตุผลทางสุนทรียศาสตร์ด้วยก็เป็นได้ เนื่องจากภายในของคราเตอร์นั้นสามารถถูกมองเห็นได้อย่างชัดเจน ขั้นตอนและพิธีกรรม ในตอนเริ่มต้นของซิมโพเซียมทุกครั้งจะต้องมีการเลือกตั้ง เจ้าแห่งเครื่องดื่มร่วมกัน ขึ้นมาจากผู้เข้าร่วมในพิธี ผู้ที่ถูกรับเลือกนั้นก็จะต้องมีหน้าที่ควบคุมทาสที่มีหน้าที่รินไวน์และมีหน้าที่ดูแลสัดส่วนของไวน์กับน้ำในคราเตอร์ รวมไปถึงวิธีการผสมและเจือจางและต้องดูแลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเครื่องดื่มนั้นตลอดตราบจนกว่างานเลี้ยงจะเลิกรา ไปจนถึงต้องควบคุมว่าจะให้บริกรรินไวน์ให้กับผู้ที่เข้ามาร่วมงานแต่ละคนเท่าใดอีกด้วย เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าการที่คราเตอร์จะเต็มหรือจะหมดนั้นเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับอำนาจของซิมโพซิอาร์คของงานนั้นๆ โดยตรง ซิมโพซิอาร์คที่มีความสามารหรือเจนประสบการณ์จะต้องสามารถคาดเดาหรือสามารถอ่านผู้เข้าร่วมออกได้ว่าผู้เข้าร่วมแต่ละคนมีปริมาณในการดื่มที่เหมาะสมเท่าใด เพื่อที่จะสามารถทำให้ซิมโพเซียมดำเนินไปได้อย่างราบรื่นโดยไม่เกิดการเมามายที่มากเกินไปกว่าที่เหมาะควร การผสมไวน์ ในยุคกรีกโบราณนั้น การดื่ม akratos หรือไวน์ที่ไม่ผสมหรือเจือจางนั้นถือเป็นการกระทำที่ไม่ควร ละมีผลที่จะทำให้ผู้อื่นสามารถมองนักดื่มคนนั้นว่าเป็นพวกมัวเมาไม่รู้เหนือใต้และยังเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติในการระงับยับยั้งชั่งใจตนเองและเป็นผู้ที่ขาดหลีกการขั้นพื้นฐาน ผู้เขียนในยุคโบราณได้กำหนดส่วนผสมระหว่างไวน์กับน้ำเปล่าไว้ในอัตราที่เหมาะสมคือหนึ่งต่อสาม (ไวน์ต่อน้ำเปล่า) นั้นเหมาะสมกับการพูดคุยกันอย่างออกรสยาวนาน ในขณะที่อัตราส่วนที่หนึ่งต่อสองนั้นใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการความสนุกสนานอย่างขาดมิได้ และอัตราส่วนหนึ่งต่อหนึ่งนั้นใช้เมื่อความสำราญรวมหมู่ขั้นสูงสุดเท่านั้นซึ่งไม่ใช่อัตราการผสมที่จะได้ใช้กันบ่อยครั้งนัก หากว่าไม่ได้ใช้ไปเลยโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อทบทวนอีกครั้งว่าการผสมกับน้ำนั้นไม่ว่าจะในอัตราส่วนเท่าใดก็ตามแต่แทบจะทำให้ไวน์ในยุคปัจจุบันสูญเสียรสชาติที่พึงมีไปหมดสิ้นแล้ว ทำให้เกิดการตั้งข้อสันนิษฐานว่าชาวกรีกโบราณหรือผู้คนในยุคโบราณนั้นอาจจะบ่มและผลิตไวน์ที่มีแอลกอฮอล์และดีกรีของน้ำตาลในระดับที่สูงมาก ซึ่งอาจจะใช้องุ่นที่ผ่านการดีไฮเดรตแล้วซึ่งสามารถผสมรวมหรือเจือจางกับน้ำได้ดีกว่า ไวน์ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นจะสามารถคงสภาพเมื่อเวลาผ่านไปและทนต่อเหตุที่คาดเดาไม่ได้ในขณะขนส่งได้มากกว่า แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีการค้นพบสูตรหมักบ่มหรือผลิตไวน์ที่ชาวกรีกโบราณได้ทิ้งไว้แต่อย่างใด